การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเทศบาลตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฐิติ ฐิติจำเริญพร สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ชาญชัย เมฆศิริ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • คมกฤต วงค์นาง สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • จงรักษ์ ศรีคำหน้อย สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, เทศบาลตำบลท่าศาลา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตำบลท่าศาลา 2) พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยว    เชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนตำบลท่าศาลา และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนา        การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเทศบาลตำบลท่าศาลา โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ใช้เครื่องมือวิจัยแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ในชุมชนเป้าหมาย 5 หมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนและแบบประเมินการมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ ผู้แทนชุมชน จำนวน 25 คน ผู้บริหารเทศบาลตำบลท่าศาลา จำนวน 10 คน ผู้ประกอบการชุมชน จำนวน 10 คน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว จำนวน 10 คน ผู้แทนหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัด  4 คน และผู้แทนสำนักงานท่องเที่ยวและการกีฬาจังหวัด จำนวน 2 คน

          ผลวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตำบล    ท่าศาลา พบว่า บริบทของชุมชนท่าศาลา ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ชุมชนมีฐานทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นในระดับชาติ และผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนตำบลท่าศาลา ได้รับระดับค่าประเมินเฉลี่ย ผ่านระดับดี  (ร้อยละ 70.00)  2. การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนตำบลท่าศาลา โดยสรุปของดีชุมชนท่าศาลา ซึ่งจัดหมวดหมู่ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1) ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรม 2) ภูมิปัญญาด้านสุขภาพ       3)  ภูมิปัญญาด้านพิธีกรรมความเชื่อ 4) ภูมิปัญญาด้านดนตรีและการฟ้อนรำ และ 5) ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นเมืองและออกแบบกิจกรรมที่ทดลองจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน “เยือน ยล @ชุมชนท่าศาลา เชียงใหม่”การทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนได้รับการเรียนรู้และสามารถนำไปสานต่อในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน 3. แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ดังนั้น ควรพัฒนาบุคคลในชุมชนตำบลท่าศาลาให้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ร่วมกับนักท่องเที่ยว ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนและควรมีการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลท่าศาลาในการจัดตั้งกลุ่มชุมชน หรือการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลท่าศาลา เพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). แนวทางการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุณษิดา นาคภพ. (2561). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 8(2): 71-80.

ฐิติ ฐิติจำเริญพร และคณะ. (2564). รายงานวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเทศบาลตำบลท่าศาลา. เชียงใหม่: เทศบาลตำบลท่าศาลา.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิต.

พจนา สวนศรี. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 8-15 การจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีรพล น้อยคล้าย. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความคิดเห็นของประชาชน ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 21(1): 77-85.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และเสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ จังหวัดน่าน. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1): 244-255.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-02-2022