ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลในช่วงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้ข่าวสาร, ความรู้ความเข้าใจ, สภาวะเศรษฐกิจ, การวางแผนทางการเงินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลในช่วงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Sampling การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลในช่วงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล พบว่า
ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับต่ำ ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการเงิน มีความสัมพันธ์กับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับต่ำ ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ปัจจัยด้านสภาวะทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครด้านช่องทางในการจัดทำแผนทางการเงินส่วนบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ปัจจัยด้านสภาวะทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครด้านวัตถุประสงค์ในการวางแผนทางการเงินและรูปแบบในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลอยู่ในระดับต่ำ ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ขนิษฐา ตันสถาวีรัฐ และธฤตพน อู่สวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของพนักงานบริษัทหน่าเซียน ในเขตกรุงเทพมหานคร. กลุ่มวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอการค้าไทย.
ชนิกานต์ ภูกัณหา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเงินของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐทิตา โรจนประศาสตร์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธนภรณ์ ดีธนกิจชัยกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของคนวัยทำงานในสถานการณ์ COVID-19. สาชาวิชาการจัดการการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรีญานุช บุตรน้ำเพชร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะทางการเงินส่วนบุคคลในช่วงสถานการณ์ COVID - 19 ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (ม.ป.ป.). วิธีการดำเนินการวิจัย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ http://cms.dru.ac.th/ispui/bitstream/123456789/845/21/unit3.pdf. (2564, 15 พฤษภาคม).
วิมลพร สมัครเขตรการ และปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการวางแผนการเงิน เพื่อความมั่นคงตอนเกษียณอายุ กรณีศึกษา ลูกค้ายูโอบี สาขาถนนศรีวรา. Journal of Arts Management. 4(3), 567-581.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). ประเทศไทยหลังโควิด-19. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/thailand-after-covid-ep1.html. (2564, 15 พฤษภาคม).
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.
สมบูรณ์ สารพัด ศิรินุช อนละคร และชไมพร ชินโชติ. (2564). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชากรวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(3), 218-234.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.). (2563). 50 เขตกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ https:// https://data.go.th/dataset/663ed528-97d7-4dd2-a463-be865e6fda28/resource/38e44c3b-e5a8-4194-8ed4-bdd486a4fa3c/download/district.pdf. (2564, 15 พฤษภาคม).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้https://http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx (2564, 15 พฤษภาคม).
สุพัตรา จันทนะศิริ. (2562). การบริหารการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เกษียณอายุเมื่อสิ้นปี งบประมาณ พ.ศ. 2562. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(1), 47-59.
สุมิตรา ศรีชูชาติ. (2550). สถิติธุรกิจ. สาขาวิชาสถิติ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ไอยรา ผ่านเมือง. (2560). การวงแผนและการจัดการทางการเงินของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มี การหย่าร้างในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Gitman, L. J., & Joehnk, M. D. (2005). Personal finance planning. Mason, OH: Thomson.
Gitman, Lawrence J., Joehnk, Michael D., & Billingsley, Randy. (2013). Personal Financial Planning. [Online], Available: https://www.amazon.com/Personal-Financial-Planning...Gitman/.../1111. (2021, 15 May).
Hallman, G. V., & Rosenbloom, J. S. (2000). Personal Finance Planning. (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 อุบล ไม้พุ่ม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์