ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กุลชาติ พันธุวรกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เมษา นวลศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, วิจัยในชั้นเรียน, ครูปฐมวัย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี: การประเมิน ความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี จำนวน 255 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงแอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modifiied Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมถือว่าเป็น ความต้องการจำเป็นในระดับไม่เร่งด่วน (PNImodified = 0.14) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีพิสัยของดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.08 – 0.19 โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านทักษะการวิจัยในชั้นเรียน (PNImodified = 0.19) ด้านความรู้ในการวิจัย ในชั้นเรียน (PNImodified = 0.17) และด้านเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน (PNImodified = 0.08) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2562). มาตรฐานการจัดการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2562). การวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research): กระบวนการสร้างความรู้เพื่อใช้พัฒนาการเรียนการสอน. (เอกสารภายใต้โครงการบริการวิชาการสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยชั้นเรียน สำหรับครูประจำการในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2562).

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และชัยยุธ มณีรัตน์. (2562). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9(2): 1-11.

ณัฐภัสสร ชื่นสุขสมหวัง. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ คุ้มภัยเพื่อน. (2550). การพัฒนาครูด้านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนดูนสาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ทิศนา แขมมณี และสร้อยสน สกลรักษ์. (2540). แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ. เอกสารประกอบการบรรยาย ‘Twilight Program’ การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 (Thailand Research EXPO 2012) ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555.

นิติกร อ่อนโยน และเมษา นวลศรี. (2553). ความต้องการในการเพิ่มสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2546). ธรรมสำหรับครู. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา : การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุพิน สมร่าง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับแรงจูงใจในการทำวิจัยของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบสัมพันธ์คาโนนิคอล. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. (2564). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://pathumlocal.go.th/public/. (2564, 18 มิถุนายน).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรนุช ศรีคำ, วิไลวรรณ ศิริเมฆา, สินีนาฏ วัฒนสุข, บรรพต วงศ์ทองเจริญ, คำจันทร์ ร่มเย็น และ สาธิตา จอกโคกกรวด. (2561). การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2): 157-169.

Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: a power primer. Psychological Bulletin. 112(1): 155-159.

Cristobal, E., Flavián, C., & Guinaliu, M. (2007). Perceived e-service quality (PeSQ) Measurement validation and effects on consumer satisfaction and web site loyalty. Managing service quality: An international journal. 17(3): 317-340.

Kenneth, M. (1992). Developing teacher-researchers in high school: a case study of a planned intervention. Pittsburgh: University of Pennsylvania.

Nunnally, J. C. (1967). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021