การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสำหรับเด็กแอลดี
คำสำคัญ:
เด็กแอลดี, การจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
แอลดี (Learning Disabilities LD) หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นความผิดปกติ หรือพัฒนาการล่าช้าในกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอย่างที่สัมพันธ์เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษาในด้านการอ่าน การพูด การเขียน การคิดคำนวณและคณิตศาสตร์ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการได้รับบาดเจ็บทางสมองทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจึงทำให้การรับรู้ การแปลความ และการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับเสียไป ส่งผลให้เด็กมีผลการเรียนรู้ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง และมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ขาดสมาธิ ช่วงความสนใจสั้น การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่ดี มีพฤติกรรมก่อกวนผู้อื่น มีปัญหาทางอารมณ์ ขาดการจัดระเบียบ ขาดความรู้และทักษะในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กแอลดีนั้นคล้ายกับการสอนเด็กทั่วไป แต่ครูควรเพิ่มเติม การสอนในประเด็นต่าง ๆ เช่น การคิดวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน เทคนิคหรือวิธีการใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสหลาย ๆ ทางทั้งด้านการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือและตา ฝึกการจัดหมวดหมู่ การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ มีการใช้คำสั่งที่ง่ายและชัดเจน เป็นต้น นอกจากนี้ครู ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญจะต้องร่วมมือกันในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาและแผนการสอนเฉพาะบุคคลเพื่อช่วยพัฒนาเด็กให้บรรลุศักยภาพสูงสุดของ แต่ละคน
References
จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต. (2560). การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นงนุช เพชรบุญวัฒน์. (2555). ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2561). คู่มือการดูแลสุขภาพจิตเด็ก: กลุ่มปัญหาการเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส
สถาบันราชานุกูล. (2555). เด็กแอลดี : คู่มือสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). ความรู้พื้นฐานในการพัฒนานักเรียน ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ท.).
สัมภาษณ์ ปลอดขาว. (2558). แนวทางการสอนเด็ก L.D. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://sornosampas.wordpress.com. (2564, 20 พฤศจิกายน).
อัจฉราพรรณ ปันบุตร. (2565). สถานการณ์คนพิการ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation (2565, 29 เมษายน ).
Batshaw, M. L. & Perret, Y. M. (1981). Children with Handicaps: A Medical Primer. Baltimore: Paul H. Brookes Publishing Co.
Benzene. (2564). ปรับวิธีการสอนผ่านการใช้ VARK Model. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www edbathai.com (2564, 16 พฤศจิกายน).
Bowen, L. M. (2005). Intervention strategies for LD students. Illinois: Illinois State University.
Friend, M. & Bursuck, W. D. (2002). Including students with special needs: a practical guide for classroom teachers. (3rd ed.). Bostan: Allyn and Company.
Hallahan, D. P. & Kauffman, J. M. (1994). Exceptional Chaildren: Introduction to Special Education. (6th ed.). Bostan: Allyn and Bacon.
Lerner, J. W. (1981). Learning Disabilities: Theories, Diagnosis, and Teaching Strategies. (3rd ed.). Boston: Houghton Mifflin Company Palo Alto London.
Mercer, C. D., & Mercer, A. R. (1998). Teaching students with learning problem. (5th ed.). Ohio: Prentice-Hall.
Reid, J. (1987). The learning style preferences of ESL students. TESOL Quarterly. 21(1), 87-111.
Smith, T. C. & Polloway, E. A. (2001). Teaching Students with Special Need
Inclusive Setting. Boston: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์, สุมิตรา โรจนนิติ, นิตยา สุวรรณศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์