การพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้สถานการณ์จำลอง
คำสำคัญ:
สถานการณ์จำลอง, ทักษะการแก้ปัญหา, นักศึกษาวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้สถานการณ์จำลองเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาวิชาชีพครูก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของ นักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปริญญาตรีปีที่ 1/1 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากสุ่มห้องเรียนและใช้ทุกคนในห้องเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมในช่วงดำเนินการระหว่างก่อนเรียน-หลังเรียน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาภายหลังผ่านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลอง เทียบเท่ากับคะแนนมาตรฐานที่กำหนด ไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.93 2) นักศึกษามีทักษะในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56)
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง หน้า 73-74.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ปภาพิศ ศรีสว่างวงศ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อรายวิชาการบัญชีสำหรับธุรกิจอาหาร เรื่อง หลักการบัญชีที่นำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจอาหารของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาธุรกิจอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการเรียนรู้แบบถานการณ์จำลอง. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 5(1): 10.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี.
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อัซซญา วุทฒิรักษ์. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจดทะเบียนกิจการห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด รายวิชา กระบวนการจัดทำบัญชีของนักศึกษาระดับประกาศนัยบัตรวิชาชีพ (ปวซ.) ชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี โดยการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎรในพระอุปถัมภ์ฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://siba.ac.th/wp-content/uploads/2016/01/re_005.pdf (2564, 15 ตุลาคม)
Jones, K. (1982). Simulation in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 อัญชัน เพ็งสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์