การศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • จิตตรี พละกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น , การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบาย ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ 2) ศึกษาคะแนนพัฒนาการของ การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง งานและพลังงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 31 คน ที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับ การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่มีค่าดัชนี ความไวรายข้อ ระหว่าง 0.45 - 0.51 แสดงว่า ข้อคำถามมีคุณภาพดี และค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าระดับความเที่ยงเท่ากับ 0.73 แสดงว่าเครื่องมือ มีความเที่ยงตรงระดับดี และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
     1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนพัฒนาการของการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ โดยมีพัฒนาการระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 3.23 พัฒนาการระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 22.58 พัฒนาการระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.96 และพัฒนาการระดับต้น คิดเป็นร้อยละ 3.23

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขมรัฐ จุฑานฤปกิจ, เอกภูมิ จันทรขันตี และสุรศักดิ์ เชียงกา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ในวิชา ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบวงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13. ปีการศึกษา 2561. 16 สิงหาคม 2561. (1741-1753). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

จงกล บุญรอด และอลิศรา ชูชาติ. (2558). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง MORE ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10(2): 238-248.

จิตราภรณ์ ใจธรรม. (2564). การพัฒนากระบวนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีการสอนแบบปฏิบัติการ เรื่องธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2): 81-94.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

บุญญาพร แสงประเสริฐ, ธนาวุฒิ ลาดวงษ์ และนพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับกลยุทธ์การอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(4): 240-252.

พัณนิดา มีลา และร่มเกล้า อาจเดช. (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(3): 1-15.

วัฒนา สุนทรชัย. (2547). เรียนสถิติด้วย SPSS ภาคการวิเคราะห์เครื่องมือวิจัย และการวิเคราะห์ข้อสอบ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี การศึกษา 2562. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: www.onetresult.niets.or.th (2563, 5 มกราคม).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้ลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สันติชัย อนุวรชัย. (2553). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธาวรรณ ภาณุรัตน์. (2553). การเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่ประเมินตนเองโดยแบบตรวจสอบรายการกับแบบสอบถามปลายเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนงค์รัตน์ แก้วบำรุง. (2554). ผลของการเรียนการสอนฟิสิกส์โดยใช้รูปแบบการสร้างความรู้พื้นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายและมโนทัศน์เรื่องงานและพลังงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McNeill, K. L., Lizotte, D. J., & Krajcik. (2006). Supporting Students' Construction of Scientific Explanations by Fading Scaffolds in Instructional Materials. Journal of the Learning Sciences. 15 (2). 153-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022