กิจกรรมเสริมทักษะและการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ “ต้นแบบโรงเรียนอาชีพ” : ข้อสังเกตจากประสบการณ์เชิงพื้นที่โรงเรียนบ้านไทรทอง จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
กิจกรรมเสริมทักษะ, นวัตกรรมการเรียนรู้, ต้นแบบโรงเรียนอาชีพ, โรงเรียนบ้านไทรทองบทคัดย่อ
โรงเรียนบ้านไทรทอง จังหวัดสระแก้วมีอัตลักษณ์พึงประสงค์ คือ “ต้นแบบโรงเรียนอาชีพ” บริบทของโรงเรียน แวดล้อมด้วยแหล่งทุนธรรมชาติที่เอื้อต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการเกษตร และอาชีพต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับชุมชน ดังนั้น การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้แก่โรงเรียน จึงใช้การจัดกิจกรรมเสริมทักษะและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ตามกรอบแนวคิดการทำงาน 3 กิจกรรม คือ 1) รวบรวมองค์ความรู้ทักษะด้านอาชีพ 2) จัดอบรม เชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ และ 3) การให้ความรู้พื้นฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ได้กำหนดให้จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้การเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรม การเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลาย ประยุกต์ใช้แนวคิด GPAAS 5 STEPS ในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งจัดทำนวัตกรรมต้นแบบผ่านชุดเครื่องมือสำหรับครูผู้สอน (Teacher Tool kits - TTK) อย่างเหมาะสม และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุนทางสังคมเป็นสำคัญ
References
กลุ่มสารสนเทศ สนผ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ระบบสารสนเทศเพื่อบริหาร การศึกษา. (2564). ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_bobec.php?School_ID=1027740280&Area_CODE=2701 (2564, 25 กรกฎาคม)
ครูหนึ่ง. (นามแฝง). (2564). ครูประจำการ. สัมภาษณ์, 11 สิงหาคม 2563.
ครูสอง. (นามแฝง). (2563). ครูประจำการ. สัมภาษณ์, 11 สิงหาคม 2563.
ประเภทของความรู้. (2557). การจัดการความรู้ KM. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/type-of-knowledge/ (2564, 8 กันยายน)
โรงเรียนบ้านไทรทอง. (2564). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://data.bopp-obec.info/web/index_view.php?School_ID =1027740280&page=info. (2564, 24 กรกฎาคม)
วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพ ฯ: สุขภาพใจ.
ศักดิ์สิน ช่องดารากุล. (2563). กระบวนการสอนคิดตามแนวคิด GPAAS 5 STEPS. ใน การประชุมปฏิบัติการ Active Learning ก้าวใหม่การจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ. 7-8 พฤศจิกายน 2563. (1-10). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
หนูหนึ่ง (นามแฝง). (2563). นักเรียนโรงเรียนบ้านไทรทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. สัมภาษณ์, 13 สิงหาคม 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ฤทัย สำเนียงเสนาะ, ปิยังกูร ตันวิเชียร, อรรถพร ธนูเพ็ชร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์