องค์ความรู้ละครในราชสำนักของไทย

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ คงถาวร คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

องค์ความรู้, ราชสำนัก, ละครในราชสำนัก

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับละครในราชสำนัก ของไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลทางเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ ผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนและการแสดง ศิลปินแห่งชาติ ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 30 ปี การสังเกต และการมีส่วนร่วมในการแสดงละครในราชสำนัก นำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์เป็นเอกสารงานวิจัย
     ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ที่สำคัญประกอบด้วย 1) การฝึกหัด เริ่มจากการฝึกหัดภายในเขตพระราชฐานชั้นใน จนพัฒนาไปสู่การฝึกหัดในระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งวิธีการฝึกหัดเริ่มจากการฝึกหัดเบื้องต้น ฝึกหัดเพลงช้า เพลงเร็ว อันเป็นเพลงพื้นฐาน และฝึกหัด ชุดการแสดง 2) การไหว้ครูเมื่อแรกเริ่มฝึกหัดจะต้องผ่านการไหว้ครูประจำปี จากนั้นเป็นการไหว้ครูก่อนเริ่มการแสดงในแต่ละครั้งเพื่อบูชาครู เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้แสดงด้วย การไหว้อธิษฐาน 3) การเบิกโรง ประกอบด้วยการโหมโรงด้วยการบรรเลงของวงปี่พาทย์ และ การแสดงเบิกโรงด้วยชุดการแสดงสั้น ๆ 4) วิธีแสดง ประกอบด้วย การแสดงเป็นเรื่อง การแสดง เป็นตอนและการแสดงเป็นชุด 5) การสืบทอด เป็นการสืบทอดองค์ความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคลหรือ ผู้ถ่ายทอด ผสมผสานกับวิจารณญาณ ประสบการณ์ ปฏิภาณไหวพริบและเทคนิคเฉพาะบุคคล โดยผ่านการกลั่นกรองและตกผลึกเป็นองค์ความรู้

References

ธนิต อยู่โพธิ์. (2531). ศิลปะละครรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2543). ละครวังสวนกุหลาบ. กรุงเทพฯ: พรีสเกล.

ปาริชาต กัณฑาทรัพย์. (2016). เทวราชาในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 11(1): 154.

พนิดา สิทธิวรรณ. (2552). รำไทยและเบิกโรงมหรสพไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2561). จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวง นรินทรเทวีและพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. 2310-2363). (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิชั่น พรีเพรส.

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2561). พระราชนิพนธ์บทละครนอกในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

พระมหานาค วัดท่าทราย. (2503). บุณโณวาทคำฉันท์. พระนคร: กรมศิลปากร.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2547). ครูจำเรียง พุธประดับ ศิลปินแห่งชาติ รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยแบบโบราณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2558). ปวัติยานุกรม. กรุงเทพฯ: นุชาการพิมพ์.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2507). ตำนานละครอิเหนา. ธนบุรี: ป.พิศนาคะการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2542). ศิลปะการแสดงของไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณิต วิงวอน. (2555). วรรณคดีการแสดง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

อาคม สายาคม. (2545). รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022