แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • กัญญา เกษรพิกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเกลือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ คคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • วรพล แวงนอก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความร่วมมือของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง การหาคุณภาพเครื่องมือโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ในทุกองค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการณ์ความร่วมมือ ของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรายังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องมาจากหน่วยงานแต่ละแห่งขาดการประสานงานกัน ผู้รับผิดชอบหลักขาดการประชาสัมพันธ์ ประชาชนไม่เคยมาร่วมตั้งแต่ต้น เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ ส่งผลให้ การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีดังนี้ (1) การพัฒนาด้านภาวะผู้นำ (2) การพัฒนาด้านภาคีเครือข่าย (3) การพัฒนาด้านทรัพยากร และ (4) การพัฒนาด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

References

กฤตวรรณ สาหร่าย. (2562). รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรมปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารสวัสดิการสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

กัญญา นพเกตุ. (2563). รายงานสถานการณ์โรคเรื้อรังตำบลบางเกลือ. ฉะเชิงเทรา: งานควบคุมโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเกลือ.

จงกลณี จันทรศิริ. (2557). ระบบการจัดการของชุมชนเพื่อการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชฎามาศ ขาวสะอาด. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุหน่วยงานบริการด้านผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ. (2560). งานสัมมนา “จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาร่างแผนประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/956700. (2563, 13 มีนาคม).

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2563). รายการข่าวภาคเที่ยงสถานีโทรทัศน์ NATION T.V. ช่อง 22. (2563, 10 มิถุนายน). เก็บตกจากเนชั่นภาคเที่ยง [รายการโทรทัศน์]. กรุงเทพฯ: สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย.

บรรลุ ศิริพานิช, (2548). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

พรทิพย์ แก้วมูลคำ. (2560). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนำไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พรประภา สุทธิจิตร. (2563). การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุโดยการรำไทเก๊กเชิงพุทธบูรณาการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิบูลเจยาภิรม (ทวี มีสุข). (2561). กระบวนการเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลัดดา ดำริการเลิศ. (2560). ผู้สูงอายุไทย อันดับ 2 ในอาเซียน. คมชัดลึก, Line Official. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.komchadluek.net/news/edu-health/270595. (2561, 20 ตุลาคม).

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักสารสนเทศ. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/127178/. (2563, 11 มีนาคม)

อรอุมา บุตรเริ่ม. (2563). บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุเทน ลาพิงค์. (2561). การพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของผู้สูงอายุโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในภาคเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 18(2): (239).

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Effective behavior in organizations. New York: hard D. Irwin.

Global and Thai Context. (2015). Global status report on road safety 2015. [Online], Available: https://books.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=wV40DgAAQBAJ&oi=fnd&pg=PP1&dq=Global+and+Thai+Context,+2015&ots=DJUBvTaSvi&sig=8cAwW0elmMPMDqsgNwrl2jFJn8U&redir_esc=y#v=onepage&q&f=false (2018, 5 October)

HDC-Report. (2020). HDC Ministry of Public Health. [Online], Available: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Parsons, M. A.. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Thai PBS News. (2020). ปกป้องผู้สูงอายุพ้นภาวะเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19. [Online], Available: https://news.thaipbs.or.th/content/290758. (2020, 15 May).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022