การศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • คันธรส ภาผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ฝายวารี ประภาสะวัต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรม, ทักษะสมอง, ครูปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย โดยจำแนกระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 129 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งเป็นแบบสอบถามการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดปทุมธานี จากการวิเคราะห์พบว่า ค่า IOC ทั้งฉบับมีค่าตั้งแต่ 0.80 - 1.00
          ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.34, S.D. = 0.52) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสื่ออุปกรณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.30, S.D. = 0.49) และด้านการให้โอกาส 13 โอกาสเพื่อส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.35, S.D. = 0.54) โดยเปรียบเทียบเกี่ยวกับระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการสอน พบว่า การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัยที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05    

References

กรกนก ธุปประสม และคณะ. (2563). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยตามความต้องการของผู้ใช้ครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14(1), 69-81.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.

วชิราภรณ์ ศรีผา สุวิมล โพธิ์กลิ่น และชวนคิด มะเสนะ. (2564). อนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2562-2572). วารารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(4), 1681-1694.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภาวดี หาญเมธี และผาณิต บุญมาก. (2561). คู่มือพ่อแม่พัฒนาทักษะสมอง EF ตั้งแต่ปฏิสนธิ-3 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน.

อรทัย บุญเที่ยง. (2562). ผลการศึกษาการบูรณาการจัดการเรียนรู้ทักษะทางสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function: EF) ของครูผู้ดูแลเด็กในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงแพชร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 9(1), 707-721.

Best, J. W. (1970). Research in Education. (2nd ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Cohen, J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. (2nd ed.). New York: Academic.

Jensen, E. (2000). Teaching with the brain in mind. Virginia: Association for supervision and curriculum development.

Kaemkate, W. (2008). Research methodology in behavioural science. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kanjanawasee, S. (2005). Thrisadikanthotsop baep dangdoem [Classical test

theory]. Bangkok: Chulalongkorn University.

Nunnally, J. C. (1967). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Sivan, A. B., Koch, L., Baier, C., & Adiga, M. (1999). Refugee youth at risk: A quest for rational policy. Children's Services: Social Policy, Research, & Practice. 2(3), 139-158.

Wiersma, W. & Jurs, S. G. (2005). Research methods in education: An introduction. (8th ed). Massachusetts: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022