การพัฒนาการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อมรรักษ์ สวนชูผล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปรัชญพัชร วันอุทา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สิรินดา คลี่สุนทร วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ธัชชัย อินทะสุข วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยว, สูงอายุ, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อม ศักยภาพ และปัญหาเกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี 2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ 3) ประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอ ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยมีการเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 51 คน ที่ทำการเลือกแบบเจาะจงและแบบสโนว์บอลล์ (Snowball sampling) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน ที่ทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์จำนวน 2 ฉบับ ที่มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 ร่วมกับแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 และ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.97 โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพแวดล้อม ศักยภาพ และปัญหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี พบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำหรับผู้สูงอายุ ควรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แสดงถึงเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของจังหวัดปทุมธานี อาทิเช่น ทุ่งนามอญ ทั้งนี้ ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี คือ 1) การไม่มีแนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานีที่ชัดเจน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และชุมชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุที่ชัดเจน
2. เสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พบว่าทุ่งนามอญเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นการอนุรักษ์ วิถีชาวมอญของคนชุมชน กิจกรรมท่องเที่ยวของ ทุ่งนามอญประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับความเป็นมอญ 2) กิจกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวกับเชิงเกษตรและธรรมชาติ และ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยวทั่วไป โดยแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคือการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงรายละเอียดตามมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย (มทท.310 : 2555) เรื่องการบริการนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์
3. การประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทุ่งนามอญ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 4.40, S.D. = 0.64) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). มาตรฐานการบริการนักท่องเที่ยว กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.การบริการนักท่องเที่ยวผู้พิการเด็ก. (2564, 5 มกราคม)

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด ปี 2566. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/news/category/705 (2567, 27 มีนาคม)

ธีร์ ตีระจินดา และสมบัติ กาญจนกิจ. (2557). การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในตลาดท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. 6(1): 111-125.

บรรพต วิรุณราช. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 58(1): 149-168.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน, ครินธร ฐานันดรสุข และสานนิตย์ เจริญบุญประเสริฐ. (2564). การท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: การสำรวจข้อจำกัดทางการท่องเที่ยว กิจกรรมนันทนาการและความตั้งใจในการเดินทางท่องเที่ยว. วารสารสังคมศาสตร์. 10(1): 119-131.

สุภาภรณ์ หมั่นหา และชลธิชา แสงงาม. (2564). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชรสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. 15(2): 213-230.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2006). Principles of Marketing. (11th ed.). New Jersey: Pearson.

Sellick, M. C. & Muller, T. E. (2004). Tourism for the Young-old and Old-old. In New Horizons in Tourism: Strange Experiences and Stranger Practices. (ed. T. V. Singh) : 163-180.

Tourism Council of Thailand. (2018). Thailand tourism confidence index. Newsletter Quarter, 4, 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-08-2024