สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนางานวิชาการ ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธิดาทิพย์ ประทุมทิพย์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
  • รชฏ สุวรรณกูฏ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ทัศนา ประสานตรี หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

งานวิชาการ , แนวทางการพัฒนา, การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของงานวิชาการโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 และ 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 185 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ เครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนางานวิชาการโรงเรียน โดยดำเนินการสร้างสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของ ความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของงานวิชาการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.69) สภาพที่พึงประสงค์ของงานวิชาการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.48) (2) ความต้องการจำเป็นของงานวิชาการในโรงเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (PNImodified = 0.244) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ(PNI modified = 0.153) (3) แนวทางพัฒนางานวิชาการโรงเรียน พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีคู่มือหลักสูตรฉบับย่อ เพื่อสื่อสารให้เข้าใจถึงหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม กับบริบทของโรงเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนาโควิด-19

References

กนกวรรณ สุภาราญ. (2563). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่ Five Skills Online Teachers Need for Classroom Instruction: Resilient Educator. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.educathai.com/knowledge/articles/372 (2020, March 09).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php. (2564, 6 มิถุนายน).

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). นโยบายกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 ระดับมัธยมศึกษา พื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022