การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาศิลปกรรม วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

ผู้แต่ง

  • พรรณิการ์ สมัคร วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
  • เปรมปรีดิ์ โพธิ์ศรีทอง วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, ผู้ใช้หลักสูตร, หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาศิลปกรรม วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ปีการศึกษา 2563 โดยศึกษาความคิดเห็นด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมาจากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาศิลปกรรม วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 139 คน  ครู/อาจารย์ จำนวน 20 คน และผู้บริหาร จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 163 คน กลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกประชากรเป็นกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือในงานวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาศิลปกรรม วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี  ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง และผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นของนักเรียน ครู/อาจารย์ และผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 3.84, S.D. = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล (gif.latex?\bar{X}  = 3.95, S.D. = 0.68) รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (gif.latex?\bar{X}  = 3.94, S.D. = 0.69) ด้านผู้สอน (gif.latex?\bar{X} = 3.89, S.D. = 0.67) ด้านหลักสูตร (gif.latex?\bar{X} = 3.79, S.D. = 0.67) และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  (gif.latex?\bar{X} = 3.64, S.D. = 0.78) ตามลำดับ

References

กิติพร โชประการ. (2555). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาศิลปะการดำเนินชีวิต. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 8(2):145-165.

เกษมะณี การินทร์ และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ขนิษฐา แก้วเอียด. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาภาคสมทบต่อการจัดการเรียนในวิทยาลัยนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมาอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ปทุมธานี: เทคโนโลยีปทุมธานี (พี-เทค).

ดารณี นวพันธุ์. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา พลศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2558. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 11(2): 51-57.

ธงรบ ขุนสงคราม. (2558). ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2556. วารสารรมยสาร. 13(1): 203-214.

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนธัช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปัทมาวดี นวรัตน. (2524). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีอาชีต่าง ๆ ต่อวิชาพลศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Best, J. W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice - Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2022