การพัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อบูรณาการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วรรณลดา กันต์โฉม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ภาคีเครือข่าย, การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่, นวัตกรรมเพื่อชุมชน “คลาวด์ กระแชง”

บทคัดย่อ

การพัฒนาภาคีเครือข่ายมีความสำคัญในการส่งเสริมการกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนา บทความวิจัยจึงมีจุดประสงค์ในการพัฒนาภาคีเครือข่ายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรประสาน และวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในตำบลกระแชง วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากภาคส่วน ต่าง ๆ
ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยประสานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ฟื้นฟูชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ผู้วิจัยพบว่า การร่วมรับทราบข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในตำบลกระแชง

References

กลุ่มตัวแทนภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ชุมชน. (2564). การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตำบลกระแชง. [ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน, ผู้สัมภาษณ์].

คณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. (2564). การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตำบลกระแชง. [ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน, ผู้สัมภาษณ์].

คลาวด์ กระแชง. (2565). ชุมชนกระแชง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://cloudkrachaeng.vru.ac.th

ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน และคณะ. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และสุนทร เดชัย. (2554). การพัฒนาภาคีเครือข่ายการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”. 27-29 มกราคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (หน้า 280 - 285).

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(6), 192-202.

Reid, S., Hayes, J., & Stibbe, D. (2015). Platforms for partnership: Emerging good practice to systematically engage business as a partner in development. The Partnering Initiative, Oxford, 2015

Ryan, R. J. McAllister, Bruce, M. Taylor, Ben, P. Harman. (2015). Partnership Networks for Urban Development: How Structure is Shaped by Risk. The Policy Studies Journal. 43(3), 379-398.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022