การลดต้นทุนสินค้าคงคลังฝาแก้วพลาสติกชนิดเรียบรหัส 85 กรณีศึกษา โรงงานบรรจุภัณฑ์พลาสติก

ผู้แต่ง

  • กุลบัณฑิต แสงดี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • อภัสรา นภัทรระวี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • ศิริมาพร เจริญในวงศ์เผ่า หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การลดต้นทุนสินค้าคงคลัง, ฝาแก้วพลาสติกชนิดเรียบ, การพยากรณ์, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พยากรณ์ความต้องการของสินค้า 2) หาปริมาณสั่งซื้อ ที่ประหยัด และ 3) ลดต้นทุนสินค้าคงคลังฝาแก้วพลาสติกชนิดเรียบรหัส 85 โดยคณะผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากผู้จัดการโรงงาน 1 คน ผู้จัดการคลังสินค้า 1 คน และหัวหน้าฝ่ายขาย 1 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิขององค์กรที่เกี่ยวข้องและใช้เทคนิคการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา ในการพยากรณ์ความต้องการสินค้า โดยวัดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ด้วยวิธีค่าร้อยละ ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย และใช้เทคนิคการหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด จุดสั่งซื้อซ้ำ เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดในการควบคุมต้นทุนสินค้าคงคลังและลดปริมาณสินค้าเสื่อมสภาพ
     ผลการวิจัยพบว่า การพยากรณ์โดยวิธีเอกซ์โปเนนเซียลปรับเรียบ สามารถให้ค่าการพยากรณ์ที่มีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย ต่ำที่สุดเท่ากับร้อยละ 3.69 สามารถกำหนดปริมาณ การสั่งซื้อฝาแก้วพลาสติกชนิดเรียบรหัส 85 เท่ากับ 2,192 กล่องต่อครั้ง มีจุดสั่งซื้อซ้ำ 233 กล่อง ต่อครั้ง โดยมีรอบการสั่งซื้อทุก 17 วัน ทำให้มีต้นทุนรวมเท่ากับ 1,644 บาทต่อปี จากเดิม 38,790 บาทต่อปี สามารถลดต้นทุนรวมได้ 37,146 บาทต่อปี และสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากสินค้าเสื่อมสภาพได้ 4,998,993 บาทต่อปี รวมสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ 5,036,139 บาทต่อปี

References

จารุภา อุ่นจางวาง. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จารุเดช โตจําศิลป์ และสิทธิพร พิมพ์สกุล. (2561). ตัวแบบการพยากรณ์เพื่อการวางแผนการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าด้วยเทคนิคการปรับเรียบแบบเอกซ์โปเนนเชียล. วิศวสารลาดกระบัง, 35(2), 22-32.

จันทร์เพ็ญ อนุรัตนานนท์, ประจวบ กล่อมจิตร, พัทธ์ธีรา พรมทอง และรจเรข เลขกูล. (2563). การจัดตารางการสั่งซื้อยาในโรงพยาบาลรัฐ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิรินธร. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. 6(2), 8-19.

ธีระพงษ์ ทับพร, ยอดนภา เกษเมือง, เอกพล ทับพร และภชรดิษฐ์ แปงจิตต. (2561). การพยากรณ์ยอดขายและการบริหารสินค้าคงคลังของสินค้าคางหมึกยักษ์แช่แข็ง: บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด มหาชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2(2), 28-41.

ประจวบ กล่อมจิตร. (2556). โลจิสติกส์-โซ่อุปทาน:การออกแบบและจัดการเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พิภพ ลลิตาภรณ์. (2546). ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

มนัญณัฏฐ์ โภชนจันทร. (2564). การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับปรุงนโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 7(2), 18-31.

ศักดิ์สิทธิ์ ศุขสุเมฆ. (2557). สร้างแบบจำลองเพื่อการตัดสินใจ (Optimization Modeling) ด้วย Excel (Solver). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อนุสรณ์ บุญสง่า. (2559). การพยากรณ์ความต้องการแว่นตา กรณีศึกษา: ร้านรักแว่น. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Liao, W. M., Boockholdt, J. L., Chang, H., & Schiff, A. D. (2006). Inventory Management. Cost Accounting for Managerial planning and Control. (5th ed). Singapore: Thomson.

Silver, A. & Peterson, R. (1979). Decision System for Inventory Management and Production Planning. (2nd ed.). New York: John Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022