การศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก - ลบจำนวนนับ โดยใช้กลวิธี STAR ผสานเทคนิคบาร์โมเดล และการสอนแบบปกติ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อนุสรา กิจพงศ์พาณิชย์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ศิริลักษณ์ กัวพู่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • มุธิตา ซุนซา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • พงษ์พัฒน์ วรรณประภา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กลวิธี STAR, บาร์โมเดล, โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและ หลังเรียน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ผสานเทคนิคบาร์โมเดล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ผสานเทคนิคบาร์โมเดลกับ การสอนแบบปกติ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนชุมชน บ้านบ่อ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือก แบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก-ลบจำนวนนับ จำนวน 2 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก-ลบจำนวนนับ ซึ่งคุณภาพของเครื่องมือ ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.45-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.15-0.70 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired sample t-test และ Independent sample t-test และ 3) แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานเรื่อง จำนวนนับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การบวก - ลบ จำนวนนับ โดยใช้กลวิธี STAR ผสานเทคนิคบาร์โมเดล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ผสานเทคนิคบาร์โมเดล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กันต์กนิษฐ์ พลพิพัฒน์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กลวิธี STAR. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/allfile-268-file01-2019-02-13-09-39-11.pdf. (2564, 8 พฤศจิกายน).

ถนอมวงศ์ มาศรักษา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์บาร์โมเดลร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. ครั้งที่ 6. 30 มีนาคม 2562. (530-541). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_60.pdf. (2564, 8 พฤศจิกายน).

นภสร ยั่งยืน. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินทางการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2563/NapasornYangyeun.pdf. (2564, 8 พฤศจิกายน).

พรเพ็ญ ศรีเกษม. (2562). การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับบาร์โมเดลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารราชนครินทร์. 16(1):109-117.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2564). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ ประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.niets.or.th/th/catalog/view/3121. (2564, 15 พฤศจิกายน).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนปฏิรูปประเทศ ด้านที่ 12 การศึกษา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdb.go.th/cr/. (2564, 15 พฤศจิกายน).

อรษา เกมกาแมน. (2559). ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสาน กลวิธี STAR. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Polya, G. (1957). How to solve it: A New Aspect of Mathematics Method. New York: Doubleday and Company Garden City. [Online], Available: http://www.im.ufrj.br/~monica/funcoes/Polya.pdf. (2021, 8 November).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022