ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ศศิพิมล แสงจันทร์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกศกมล สุขเกษม บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความเครียด, การจัดการความเครียด , สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด 2) ศึกษาระดับความเครียด และ 3) ศึกษาวิธีการจัดการความเครียดของประชากรเขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ
ด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความเครียด SPST 20 ของโรงพยาบาล สวนปรุง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression Analysis) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน
     ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของประชากร เขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.03, S.D. = 0.52) ส่วนระดับความเครียดจากแบบวัดความเครียด SPST 20 ของโรงพยาบาลสวนปรุง มีความเครียดของผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง เป็นผลทำให้ประชากรเขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว กลัวทำงานผิดพลาด มีความรู้สึกวิตกกังวลและไม่สามารถทำกิจกรรมให้ไปถึงเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้และ ระดับความคิดเห็นวิธีการจัดการความเครียดของประชากรเขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลงและเล่นดนตรี รองลงมาคือ การปรับความคิดให้มีการคิดเชิงบวกมากขึ้น
     ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของประชากรเขตกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และระดับความเครียดมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีจำนวน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 (Beta) = 0.362, t = 6.760, P-Value =0.000*) และปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล (Beta) = 0.121, t = 2.114, P-Value =0.035*) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05. R square เท่ากับ 0.196  แสดงว่า ตัวแปรต้น คือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และปัจจัยจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลต่อตัวแปรตาม คือ ความเครียดของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร      ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ร้อยละ 19.6

References

กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฏร์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/statmonth (2565, 1 พฤษภาคม).

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/introduction.php (2565, 15 พฤษภาคม).

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แบบวัดความเครียด SPST 20 ของโรงพยาบาลสวนปรุง. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). เครียด.....คลายเครียด โครงการ TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กรมสุขภาพจิต. (2564). ชีวิตวิถีใหม่. [ออนไลน์]. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288. G,njv;yomuj (2565, 15 พฤษภาคม).

เมธา สุธาพันธ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในยุค New Normal กรณีศึกษา ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเส้นทางบิน กรุงเทพ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. สารนิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสุทธิ์ โนจิตต์, นภัสสร ยอดทองดี, วงเดือน เล็กสง่า และปารวีร์ มั่นฟัก. (2563). ปัจจัยทำนายความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดขอรักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 10(1): 118-128.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิมล์และไซแท็กซ์.

สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร. (2552). การแบ่งกลุ่ม เขตในกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://office2.bangkok.go.th/ard (2565, 1 พฤษภาคม).

หงส์สิริ ภิยโยดิลงชัย และคณะ. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุขจักรวรรดิ์. นครปฐม: งานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Robbins. (1996). Prentice Hall Organization Behavior: Concept, Controversies and Applications. (7th ed.). Englewood Cliffs; NJ: Prentice Hall.

Yamane, T. (1997). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022