แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พลกฤต โสลาพากุล หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ คณะบัญชี ผู้อำนวยการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การจัดทำบัญชี, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของธุรกิจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร และ2) ศึกษากลยุทธ์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้จัดการด้านบัญชีและการเงินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ มีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.952 และความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.864 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 7 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ และทำการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร ภาพรวม พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อยได้ดังต่อไปนี้ ด้านความทันเวลา รองลงมาได้แก่ ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านความครบถ้วน ตามลำดับ สำหรับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1) การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีปฏิบัติงานบัญชีสมัยใหม่ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ทางวิชาชีพบัญชี 2) การส่งเสริมการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และให้ความรู้กับผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่องบัญชี ภาษี ภาครัฐช่วยสนับสนุนให้มีที่ปรึกษาทางบัญชีให้กับผู้ประกอบการ3) การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีความเชี่ยวชาญทางการบัญชีอย่างมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง 4) จัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการในการปรับปรุง พัฒนาโปรแกรม เพื่อให้ผู้ประกอบการ มาปรับปรุง พัฒนาโปรแกรม และระบบบัญชีในกิจการ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประเภทของธุรกิจแตกต่างกันมี ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านความทันเวลาที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

จิตรลดา ศรีแก้ว. (2563). ศักยภาพในการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตนิคม และในเขตประกอบการอุตสาหกรรม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7. วิทยาลัยนครราชสีมา, 187-198.

ประสุตา นาดี. (2564). สมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัล: ทักษะการปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 8(2): 19-32.

พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์. (2564). ลักษณะของธุรกิจที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้สอบบัญชี รายงานการสอบบัญชี และรายงานการเงิน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 12 (1): 245-267.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562. ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

หทัยรัตน์ คำฝั้น และจีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2560). วิสัยทัศน์ทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านบัญชีของธุรกิจโรงแรมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(2): 4-10.

อภิญญา วิเศษสิงห์. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

อติกานต์ ประสมทรัพย์. (2562). ประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี ในมุมมองของพนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร. สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

KrungthaiSME Focus. (2562). มาตรการภาครัฐสนับสนุนเอสเอ็มอีไทย. ฉบับที่ 25 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022