ความพึงพอใจของผู้รับตรวจต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พัตทราภรณ์ ทาคำห่อ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกษม สวัสดี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พูนศักดิ์ แสงสันต์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของผู้รับตรวจต่อ การปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 2) ระดับความสำคัญของปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับตรวจ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับระดับความพึงพอใจของผู้รับตรวจ กลุ่มตัวอย่างผู้รับตรวจ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นใช้วิธีแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน, t - test, และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.87 (S.D. = 1.18) กลุ่มที่มีความพึงพอใจน้อยกว่ากลุ่มอื่นคือกลุ่มการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันระดับความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วนเพศ และระดับตำแหน่งงานแตกต่างกันระดับความพึงพอใจแตกต่างกัน 2) ปัจจัยค้ำจุนมีคะแนนระดับความสำคัญโดยเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 อยู่ในระดับสูงมาก (S.D. = 1.16) ปัจจัยค้ำจุนด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ตรวจกับผู้รับตรวจมีคะแนนน้อยกว่าด้านอื่นๆ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับระดับความพึงพอใจอยู่ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลางถึงระดับสูง (r = .605 ถึง .726) ข้อเสนอแนะคือ ผู้ตรวจสอบควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรหน่วยงานผู้รับตรวจ ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ให้มากขึ้น

References

กัลยา วานิชบัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กัลยา วานิชบัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). รายงานข้อมูลจำนวนบุคลากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐพล คลศิลป์. (2563). ความพึงพอใจของผู้รับการตรวจสอบต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน กรณีศึกษากลุ่มบริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน). การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561. (2561, 21 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 10 ก หน้า 7

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. (2561, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนที่ 27 ก หน้า 21

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหาร. ฉบับปรับปรุงใหม่. สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2558). ความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ 2558. รายงานวิจัย สำนักงานตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.qs.nu.ac.th. (2565, 2 มีนาคม).

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2562). การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการหน่วยตรวจสอบภายในสำนักงานอธิการบดี. สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://iau.op.kmutnb.ac.th/uploadfiles/sar/20210916080304_22.pdf. (2565, 4 มีนาคม).

มัทนา มั่นคง. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/271401. (2565, 8 มีนาคม).

รมิตา อินใส และวรวิทย์ เลาหะเมทนี. (2562). ทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.bareview.mju.ac.th/journal2/doc_2.pdf. (2565, 8 มีนาคม).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์ พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

วรินทร บุญยิ่ง. (2555). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แนวคิดสมรรถนะเป็นฐานในการพัฒนา การศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารครุศาสตร์. 39 (3), 83-98. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CU_FORMJOURNAL/DRAWER001/GENERAL/DAT A0015/00015895.PDF

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

สุพัตรา หมวดชนะ. (2553). ทัศนคติของผู้รับตรวจที่มีต่อการตรวจสอบภายใน: กรณีศึกษา การกีฬาแห่งประเทศไทย ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. {ออนไลน์}. เข้าถึงได้จาก: http://gs.northbkk.ac.th/thesis/abstract_/511300442.pdf. (2565, 4 มีนาคม).

สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2562, 5 เมษายน). ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 42 ก หน้า 10

อรรัตน์ เรืองจำรัส. (2555). การรับรู้บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. {ออนไลน์}. เข้าถึงได้จาก: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1019/1/131772.pdf. (2565, 10 มีนาคม).

International Organization of Supreme Audit Institutions (INTOSAI). (2021). The International Standards of Supreme Audit Institutions (ISSAI). [Online]. Available: https://www.intosai.org/focus-areas/audit-standards. (2022, 10 March).

Ismail, A. & Bakri. H. M. (2021). Auditee Satisfaction and Compliance: The Mediating Role of Perceived Service Quality concerning Malaysian. University Teknikal Malaysia, Melaka. SMEs. Journal of Contemporary Issues in Business and Government. [Online]. Available: https://www.researchgate.net/publication/355960996_Auditee_Satisfaction_and_Compliance_The_Mediating_Role_of_Perceived_Service_Quality_concerning_Malaysian_SMEs. (2022, 11 March).

Iskandar. T., & Rahmat. M. M. (2010). The Relationship Between Audit Client Satisfaction and Audit Quality Attributes: Case of Malaysian Listed Companies. University Teknologi MARA, University Kebangsaan Malaysia, the National University of Malaysia. [Online]. Available: https://www.researchgate.net/publication/228751113_The_Relationship_Between_Audit_Client_Satisfaction_and_Audit_Quality_Attributes_Case_of_Malaysian_Listed_Companies. (2022, 11 March).

Lenning, J., Gremyr, I., & Raharjo. H. (2022). What contributes to auditee satisfaction in external ISO 9001 audits?. The TQM Journal. Malaysia. [Online]. Available: https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/TQM-09-2021-0263/full/html. (2022, 11 March).

Marsely. M. (2019). Does Audit Quality Affect Client Satisfaction of Non-Profit Organization in Indonesia. Advances in Economics, Business and Management Research, volume 136. [Online]. Available: http://www.atlantis.press.com>article. (2022, 11 March).

Office of the General Auditor of Canada. (1995). Auditing of Efficiency. [Online]. Available: https://www.oag-bvg.gc.ca/internet/docs/auditing_of_efficiency.pdf.

Tangkhunsombat. N. (2021). Taro Yamane การกำหนดกลุ่มจำนวนประชากรสำหรับการวิจัย. UX Research Lab. [Online]. Available: https://www.uxresearchlab.com/2021/09/20/taro-yamane-. (2022, 2 March).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023