ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • พิบูลย์ ตัญญบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • พรรณรายณ์ ทรัพย์แสนดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • จิราภรณ์ พจนาอารีย์วงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร, ครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ 2) เปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 300 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยอาสาสมัคร (Volunteer sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของครู ที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.86, S.D. = 0.04) ซึ่งต่ำกว่าสภาพ ที่คาดหวัง ซึ่งอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.25, S.D. = 0.08) และ 2) ความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของครูที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ในภาพรวมอยู่ที่ PNIModified= 0.50 โดยด้านทักษะการเขียนมีค่าดัชนีความต้องการที่จำเป็นสูงที่สุด (PNIModified= 0.93)
        

References

กัญภร เอี่ยมพญา และคณะ. (2564). ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู: เครื่องหมายรับรองคุณภาพครูจริงไหม ?. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 22(1): 236-245.

ชนกพร ไตรรัตน์มณีโชติ. (2555). ความต้องการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนเอกชนพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2550). ทักษะการเขียนภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์วรรณ์ พัลวรรณ. (ม.ป.ป.). การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู. เข้าถึงได้จาก http://www.nst2.go.th/wp-content/uploads/2022/01.pdf

นันทิยา ดวงภุมเมศ และนันธิดา จันทรางศุ. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของคนไทย: บทสังเคราะห์งานวิจัยมุ่งเป้าหมายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 35(2): 77-96.

พระมหานรินทร์ ประสมพงศ์. (2565). ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 10 (1): 242-255.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 1-28.

มะสานูสี อาลี. (2562). ความต้องการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพครู

ในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายมายอพัฒนา จังหวัดปัตตานี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2558). เล่ม 123 ตอนพิเศษ 69 ง, หน้า 7-44.

เว็บไซต์คุรุสภา. (2565). คุรุสภาให้การรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 63 แห่ง 64 หลักสูตร. เข้าถึงได้จาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/2022/05/37358/

ศุภศิริ บุญประเวศ. (2565). พลังการสื่อสารของครู. ใน ที่ระลึกวันครู ครั้งที่ 66 พ.ศ. 2565 “พลังครูยุคใหม่ สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล” (หน้า 61-63). กรุงเทพฯ: ออนป้า.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). คำแนะนำ การขอหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ. (ฉบับปรับปรุง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). ผังการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) สำหรับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 2/2564. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.ksp.or.th/ksp2018/2021/07/32234/. (2565, 10 ตุลาคม).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรรัตน์ ทับทิมทอง และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะของครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 พิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18 (3): 139-147.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

OECD. (2018). Effective Teacher Policies: Insights from PISA, PISA, OECD Publishing, Paris. (Online), Available: https://doi.org/10.1787/9789264301603-en, (2018, 5 October).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023