การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามหลัก 5ส. ให้แก่ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์
คำสำคัญ:
สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ, การปฏิบัติตามหลัก 5ส., ผู้พักอาศัยหอพักบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามหลัก 5ส. ให้แก่ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจของ ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์ และ 3) ศึกษาความแตกต่างทางด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์ของ ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์ กับความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้พักอาศัย หอพัก C.H.เฮาส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว สำหรับการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างจะทำ การเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญ LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปสเตอร์มีขนาด A3 แนวตั้ง มีเนื้อหาและภาพประกอบเกี่ยวกับ หลัก 5ส. ส่วนแผ่นพับมีขนาด A4 แนวตั้ง มีเนื้อหาและภาพประกอบเกี่ยวกับหลัก 5ส. คืออะไร ทำไมต้องทำ 5ส. และหลัก 5ส. มีอะไรบ้าง 2) ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์มีความพึงพอใจที่มีต่อ สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และ 3) ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์ ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจมากกว่า ผู้พักอาศัยหอพัก C.H.เฮาส์ที่มีการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และต่ำกว่าปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2562). หอพักในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2561. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000354/plan/report/02.pdf. (2566, 17 กุมภาพันธ์)
กิตติพงษ์ กันหา. (2564). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเพื่อให้แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ให้กับประชาชนที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ.
คณะกรรมการ5ส บริษัท มหาสารคามเบเวอเรช จำกัด. (2562). คู่มือ 5ส สำหรับพนักงาน สะสาง สะดวก สะอาด อย่าขาดมาตรฐาน 5ส ยั่งยืนนาน ด้วยMSB มีวินัย. มหาสารคาม: คณะกรรมการ5ส บริษัท มหาสารคามเบเวอเรช จำกัด.
คุณเก่ง. (นามสมมุติ). (2565). เจ้าของหอพัก C.H.เฮาส์. สัมภาษณ์, 28 กรกฎาคม 2565.
ณัตพร วรคุณพิเศษ และนฤมล ศิระวงษ์. (2556). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 8(2): 48-58.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พลพงศ์ นกน้อย. (2562). พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TiKToK) ของผู้ใช้กลุ่ม Generation Y ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รณิดา อัจกลับ. (2562). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการมีส่วนร่วม Challenge ในแอปพลิเคชัน TiKToK ของผู้ใช้ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมวรร ธนศรีพนิชชัย. (2557). เอกสารประกอบการสอน วิชาการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ Business Printing Media Design by Computer. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://academic.udru.ac.th/~samawan/BC10104.php?fbclid=IwAR1TJps3da9Bz6TcAPm5ZK1t0RLKks4B7V1V7zCipUYj1SsSN8VXw1cC21U. (2565, 31 สิงหาคม)
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือ 5ส. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุพิน ปัญญามาก และสมภพ โรจนพันธ์. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตงานประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 6. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2549). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์=Printed media. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อารี สุทธิพันธุ์. (2521). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterian-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2(1): 49-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 อัยนา ออมแก้ว, กำพล ดวงพรประเสริฐ, ดลฤดี ศรีมันตะ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์