การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ส่งผลกับความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อุบล ไม้พุ่ม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, ความตั้งใจซื้อสินค้า, สินค้าอุปโภคบริโภค, แอปพลิเคชั่น, กลุ่มเบบี้บูมเมอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ส่งผลกับความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีรายได้) ซึ่งมีอายุ 57-75 ปี ที่นิยมเล่นอินเตอร์เน็ต และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและ ความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น ใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ส่งผลกับความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร ด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นต่อการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 โดยมีความคิดเห็นต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 รองลงมา คือ การรับรู้ทรัพยากรทางการเงิน ความเข้ากันได้ ความไว้วางใจ ประโยชน์จากการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, 4.52, 4.52 และ 4.42 และน้อยที่สุดการรับรู้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ตามลำดับและการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือกับความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภค กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยด้านการรับรู้ในความไว้วางใจมีความสัมพันธ์มากที่สุด และน้อยที่สุดคือการรับรู้ในเรื่องความง่ายในการใช้งาน

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุตินันท์ เชี่ยวพานิชย์. (2563). การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการ Application GRap ของเจเนอเรชั่น C ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนาคารกสิกรไทย. (2564). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคปี 2022 พร้อมเปิดอินไซต์แต่ละ Generation ที่ธุรกิจต้องรู้และปรับตัวให้ทัน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornbank.com/th/personal/the-wisdom/articles/Pages/BusinessEmpowerment_Onward60_2021.aspx. (2564, 8 ธันวาคม).

สุทธิพร บินอารีย์. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีและความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ ใช้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง แอพพลิเคชั่น ของผู้ใช้บริการในประเทศไทย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีท่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

สุมิตรา ศรีชูชาติ. (2550). สถิติธุรกิจ. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ETDA เผย GENY ทวงบัลลังก์ ใช้เน็ตมากที่สุดเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ HTTPS://WWW.ETDA.OR.TH/TH/PR-NEWS/IUB2022.ASPX. (15 มีนาคม 2565).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx (2565, 15 มีนาคม).

Hinkle, D. E, William, W. & Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed). New York: Houghton Mifflin.

Kim, S., & Pysarchik, D. T. (2000). Predicting purchase intentions for uni-national and bi-national products. International Journal of Retail & Distribution Management. 28(6), 280-291.

Kim, J. (2004). Effects of perceived merchandise quality and service quality on consumer shopping behavior in the Internet apparel retailing environment. PhD thesis, Iowa State University.

Krungsri Guru. (2565). Baby Boomer กับ Millennials บริหารเงินต่างกันอย่างไร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/life/good-life/babyboomers-and-Milleniums. (15 มีนาคม 2565).

Ooi, K. B., & Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: An investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert Systems with Applications. 59(C): 33-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023