การพัฒนาชุดฝึกทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอล
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะครอบครองบอล, ทักษะครอบครองบอล, ฟุตบอลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอลตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลของชุดฝึกทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอลก่อนฝึกกับหลังฝึก และ 3) เปรียบเทียบผลของชุดฝึกทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอลระหว่าง กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กผู้ชาย จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 7 - 9 ปี ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและจัดเข้ากลุ่ม ๆ ละ 15 คน สำหรับกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดฝึกทักษะการครอบครองบอล ค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1 และ 2) แบบทดสอบความสามารถทักษะฟุตบอลสำหรับเยาวชน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.6 - 1 ค่าความเชื่อมั่นของ Cronbach เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบโดยการวิเคราะห์สถิติทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอล 1.1) การเลี้ยงลูกบอลมีค่าเท่ากับ 82/83 1.2) การกลับตัวในขณะเลี้ยงลูกฟุตบอลมีค่าเท่ากับ 92.00/96.22 1.3) การรับลูกฟุตบอลมีค่าเท่ากับ 92.33/92.42 1.4) การส่งลูกฟุตบอลมีค่าเท่ากับ 84.33/86.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอลทั้ง 4 ทักษะระหว่างก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการครอบครองบอลในกีฬาฟุตบอลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). กรมอนามัยเผยเด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง
สูงขึ้นแนะพ่อแม่ชวยลูกมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news220466/. (2566, 22 เมษายน).
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตติ พลไพรินทร์และสมเกียรติ เนตรประเสริฐ. (2558). ผลของการฝึกความคล่องตัวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุ 12-15 ปี. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5(8): 85-94.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2555). ผลของการฝึกรูปแบบ เอส เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬา. วารสารวิจัย มข. 12(4): 102-110.
ณพพล เทียมบูชา. (2548). พลศึกษาและกีฬา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
นฤชล อรชร. (2560). ผลของโปรแกรมการฝึกเกมสนามเล็กที่มีต่อความสามารถในการรับและส่งลูกฟุตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 13(4): 160-172.
บุญโต ศรีจันทร์ สุธนะ ติงศภัทิย์ และบัญชา ชลาภิรมย์. (2565). การพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอล และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยสมองเป็นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 14(3): 201-212.
พนภาค ผิวเกลี้ยง และมาเรียม นิลพันธุ์. (2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6(1): 80-90.
ไพวัน เพลิดพราว. (2559). เอกสารประกอบการสอน: การเคลื่อนไหวเบื้องต้น (Basic Movement). อุดรธานี: คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2542). กีฬาฟุตบอล. กรุงเทพ: ต้นอ้อ.
ลักขณา โพธิสุทธิ์, ปราโมทย์ จันทร์เรือง, เนติ เฉลยวาเรศ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การวาดภาพระบายสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 3(1): 49-62.
สุดาวรรณ วุฒิชาติ, ธีรนันท์ ตันพานิชย์และนิรอมลี มะกาเจ. (2565). ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน สู่ทักษะกีฬาพื้นฐานสำหรับเด็ก. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 9(2): 1-14.
Atakan Caglayan, Kamil Erdem, Vedat Colak, Nurper Ozbar. (2018). The Effects of Trainings with Futsal Ball on Dribbling and Passing Skills on Youth Soccer Players. International Journal of Applied Exercise Physiology. 7(3): 44-53.
Francesco Sgrò, Salvatore Bracco, Salvatore Pignato and Mario Lipoma. (2018). Small-Sided Games and Technical Skills in Soccer Training: Systematic Review and Implications for Sport and Physical Education Practitioners. Journal of Sports Science. 6(2018): 9-19.
Mamoon-Al-Bashir, Rezaul Kabir, Ismat Rahman. (2016). The Value and Effectiveness of Feedback in Improving Students’ Learning and Professionalizing Teaching in Higher Education. Journal of Education and Practice. 7(16): 38-41.
Plainos, C., Patsiaouras, A., Ispirlidis, I., Gourgoulis, B., Laios, A., Taxildaris, K., & Mavromatis, G. (2011, December). Comparison of Two Different Training Methods for Improving Dribbling and Kicking Skills of Young Football Players. The Sport Journal. [Online], Available: https://thesportjournal.org/article/comparison-of-two-different-training-methods-for-improving-dribbling-and-kicking-skills-of-young-football-players/ (2023, 5 March).
Sudirman, S. (2016). Methods Effectiveness in Practice Dribble Football Game Model Development Exercise Agility and Reaction Speed Foot. Journal of Indonesian Physical Education and Sport. [Online], Available: https://garuda.kemdikbud.go.id/documents/detail/634964 Abstract. (2023, 5 March).
The New York Redbulls Academy. (2018). Skills Challenge. [Online], Available: http://www.redbullsacademy.com/training/player-tools/skills-challenge/. (2018, 5 March).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 เทเวศน์ จันทร์หอม, ชาญกิจ คำพวง, ไพญาดา สังข์ทอง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์