การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • นำโชค บุตรน้ำเพ็ชร สาขาวิชาภาษาจีน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญา, ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง, การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, สมรรถนะการใช้ทักษะภาษาจีน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ในการใช้ทักษะภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ประเมินประสิทธิผล การใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 วิชาเอกภาษาจีน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ที่ศึกษารายวิชาภาษาจีนหลัก จำนวน 20 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คู่มือการใช้รูปแบบการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินสมรรถนะการใช้ทักษะการเขียน ทักษะการอ่านและทักษะการพูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและ การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (MEPROE Model) มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเสริมแรงใจ (Motivation : M) (2) ขั้นเสริมการเรียนรู้ (Erudition : E) (3) ขั้นฝึกทักษะ(Performance : P) (4) ขั้นทบทวน (Refresher : R) (5) ขั้นคิดสร้างสรรค์ (Origination : O) และ (6) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) โดยมีค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน (E1/E2) เท่ากับ 83.07/86.92 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. สมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนทั้ง 3 ด้าน หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน MEPROE Model สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ย (M) เท่ากับ 13.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพูดมีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.11 ด้านการอ่าน มีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.37 และด้านการเขียน มีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.25
3. การพัฒนาสมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนของนักเรียน มีการพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียน 4 ระยะและระยะการทดสอบหลังเรียน 90 นาที พบว่า นักเรียนมีสมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาขึ้นจากระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 และเมื่อมีการทดสอบหลังเรียน นักเรียนมีสมรรถนะในการใช้ทักษะภาษาจีนในระดับสูงขึ้น (M = 13.35, S.D. = 0.63)

References

กวินกรณ์ ชัยเจริญ และสุกัญญา ทองแห้ว. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. Journal of Modern Learning Development. 5(6): 16-25.

กฤตเมธ ธีระสุนทรไท. (2559). บทวิจารณ์หนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 15(2): 6-9.

กฤตเมธ ธีระสุนทรไท. (2559). บทวิจารณ์หนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 15(2), 6-9. อ้างใน วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช!. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

คุณิตา เดชะโชติ และจาง ซู่คุน. (2561). การใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความจำด้านคำศัพท์ภาษาจีนสำหรับงานบริการในธุรกิจโรงแรม. ในการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ. ครั้งที่ 1. 20-21 สิงหาคม 2561. (673-682) สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

จินตนา วิเศษจินดา และสมพงษ์ จิตระดับ. (2561). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(2): 445-455.

จุฑารัตน์ พิมพ์ไทยสง,และจิระพร ชะโน. (2562). การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด. 13(2): 140-148.

ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซุน ลี่หยุน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2561ก). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2561ข). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างถึง Gardner, H. (1983). Frames of mind. New York: Basic Books, Collins Publishers.

นำโชค บุตรน้ำเพ็ชร. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนซ่อมเสริมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 11(1): 52-67.

นำโชค บุตรน้ำเพ็ชร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12(6): 1413–1429.

แพรไหม คำดวง. (2562). การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาตรมหาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุวดี ถิรธราดล. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาจีนตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการพูดภาษาจีนของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580) (ฉบับประกาศ ราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนในประเทศไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th. (2565, 20 มกราคม).

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). บันทึกรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ศรีบูรณ์ คอมพิวเตอร์การพิมพ์.

Gardner, H. (1983). Frames of mind. New York: Basic Books, Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023