การบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การศึกษาไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • ประสงค์ สุบรรณพงษ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผดุงชัย ภู่พัฒน์ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, กลุ่มโรงเรียนเครือข่าย, การศึกษา 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และเปรียบเทียบปัญหาการบริหาร งานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การศึกษาไทย 4.0 จำแนกตามบริบทที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มสาระกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 226 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มประชากรทั้งหมดคือ 570 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่ และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเที่ยง 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การทดสอบทีแบบอิสระ
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การศึกษาไทย 4.0 ในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับน้อย ส่วนปัญหาในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบปัญหา การบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย จำแนกตามบริบทที่ตั้ง ภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายในเขตกรุงเทพมีปัญหามากกว่า กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายในเขตปริมณฑล

References

กัณหา โตสกุล. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. บรรยายพิเศษ ในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 (28 สิงหาคม 2559). ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสานักงานศึกษาธิการ ภาค 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภัทรา ธรรมวิทยา และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2558). การศึกษาภาวะผู้นาเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การศึกษา. 10(1), 1 - 13.

สมศักดิ์ เอี่ยมดี. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(ฉบับพิเศษ): 216 - 224.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

อภิเชษฐ์ บุญพยอม. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023