การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • พลอยกาญจน์ พึ่งเพียร หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผดุงชัย ภู่พัฒน์ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ทักษะการบริหารงานวิชาการศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารงานวิชาการ ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยการศึกษาแนวคิด และทฤษฎีจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์แบบ กึ่งมีโครงสร้าง โดยวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ทักษะ การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.80 - 1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ จำนวน 40 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ทักษะการบริหารจัดการ จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ทักษะทางเทคโนโลยี และการใช้ดิจิทัล จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 5 ทักษะการสื่อสาร จำนวน 8 ตัวบ่งชี้
2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ทักษะการบริหาร งานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 682.87, df = 632 , p = .079, GFI = .940, AGFI = .920 และ RMSEA = .013

References

กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2554). การบริหารวิชาการและนวัตกรรมการจัด การเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดำเนิน เพียรค้า. (2561). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8, สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในสตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรเทพ เนียมหัตถี. (2550). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 6(1) : 7-11.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานการพิมพ์.

Binkley, M. (2012). Defining Twenty-First Century Skills. Netherlands: Springer.

Hommes, M. A. & Van der Molen, H. T. (2012). Effects of a Self-instruction Communication Skills Tranining on Skills, Self-efficacy, Motivation, and Transfer. European Journal of Open, Distanc and E-Leanning.

Ng, S. W., & Szeto, S. Y. E. (2016). Preparing school leaders: The professional development needs of newly appointed principals. Educational Management Administration & Leadership.

Tabachnick, B. G. & Fidell, L. S. (2012). Using Multivariate Statistics. (6th ed.). Boston : Pearson New International Edition.

Watson, S. H. (2000). Leadership Requirements in the 21 st Century: The perceptions of Canadian Private Sector Leaders. n.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023