การศึกษาความวิตกกังวลและกลยุทธ์การพูดสื่อสาร ในกิจกรรมพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • ธนกร สุวรรณพฤฒิ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวลในการพูด, กลยุทธ์การพูด, นักศึกษาที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความวิตกกังวลในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ และ 2) ศึกษากลยุทธ์การพูดสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสำนักงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน การวิจัยเชิงสำรวจนี้ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความวิตกกังวลในการพูด 2) แบบสอบถามกลยุทธ์การพูด 3) แบบสัมภาษณ์ และ 4) แบบสังเกตการณ์ นำเครื่องมือวิจัยไปตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามอยู่ในระดับ 0.83 และ 0.87 ข้อมูลเชิงปริมาณนำมารวบรวมและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์นำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 62 คะแนน) โดยนักศึกษามีความวิตกกังวลเมื่อถูกทดสอบอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.78) ส่วนการใช้กลยุทธ์การพูดภาษาอังกฤษ นักศึกษากลุ่มตัวอย่างใช้กลยุทธ์การพูดอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.35) โดยกลุ่มกลยุทธ์การพูดที่ใช้มาก คือ กลยุทธ์ลดข้อความและใช้ทางเลือก (ค่าเฉลี่ย 3.59) ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า ในกิจกรรมพูดสื่อสาร ผู้สอนควรส่งเสริมบรรยากาศเรียนรู้ที่ดีเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษน้อยลง และบูรณาการสอนกลยุทธ์การพูดที่หลากหลายให้กับผู้เรียนที่ไม่ใช่วิชาเอกภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยพัฒนาทักษะการพูดของผู้เรียนให้ดีขึ้น

References

Cohen, A. D. & Griffiths, C. (2015). Revisiting LLS Research 40 Years Later. TESOL Quarterly. 49(2): 414-429.

Fung, Y. M. & Min, Y. L. (2016). Effects of Board Game on Speaking Ability of Low-Proficiency ESL Learners. International Journal of Applied Linguistics & English Literature. 5(3), 261-271.

Green, J. M. & Oxford, R. L. (1995). A Closer Look at Learning Strategies, L2 Proficiency, and Gender. TESOL Quarterly. 29, 261-297.

Horwitz, E. K. Horwitz, M. B. & Cope, J. A. (1986). Foreign Language Classroom Anxiety. Modern Language Journal. 70(2), 125-132.

Leong, L. & Ahmadi, S. M. (2017). An Analysis of Factors Influencing Learners’ English Speaking Skill. International Journal of Research in English Education. 2(1), 34-41.

MacIntyre, P.D. & Gardner, R. C. (1994). The Subtle Effects of Language Anxiety on Cognitive Processing in the Second Language. Language Learning. 44, 283-305.

Nakatani, Y. (2006). Developing an Oral Communication Strategy Inventory. Modern Language Journal. 90, 151-168.

Nakatani, Y., Makki, M. & Bradley, J. (2012). “Free” to Choose: Communication Strategy Use in EFL Classrooms in Iran. Iranian Journal of Applied Linguistics. 15, 61-83.

Nation, I. S. P & Newton, J. (2009). Teaching ESL/EFL Listening and Speaking. ESL & Applied Linguistics Professional Series. Routledge Taylor & Francis Group.

Oxford, R. L. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know. New York: Newbury House.

Oxford, R. L. (2017). Teaching and Researching Language Learning Strategies: Self-Regulation in Context. Taylor & Francis Group.

Toubot, A., Seng, G. & Abdullah, A. (2018). Examining Levels and Factors of Speaking Anxiety among EFL Libyan English Undergraduate Students. International Journal of Applied Linguistics & English Literature. 7(5), 47-56.

Tuan, N. H. & Mai, T. N. (2015). Factors Affecting Students’ Speaking Performance at Le Thanh Hien High School. Asian Journal of Education Research. 3, 8-23.

Ur, P. (2000). A Course in Language Teaching: Practice and Theory. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2023