ความสัมพันธ์ของปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ กับประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ให้บริการรับสั่งอาหาร ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) เขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วิญญู ปรอยกระโทก สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  • นันทวัน แทนไทย สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  • กุลบัณฑิต แสงดี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, โลจิสติกส์, ประสิทธิภาพ, โมบายแอปพลิเคชัน, โควิด-19

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านโมบายแอปพลิเคชันในสถานการณ์โควิด-19 เขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์กับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ให้บริการรับสั่งอาหารผ่านโมบายแอปพลิเคชัน โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการสั่งอาหารผ่านโมบาย แอปพลิเคชันในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 385 คน จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างกรณีที่ไม่ทราบประชากรที่แน่นอนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก นำข้อมูลวิเคราะห์เชิงสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์พบว่า 1) ผู้แบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 20-29 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นนักเรียนและนักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้บริการจากแอปพลิเคชัน Food Panda มากที่สุด ร้อยละ 43 โดยมีความถี่ในการใช้บริการมากที่สุด 4-6 ครั้งต่อเดือน มีค่าใช้จ่าย 100-200 บาทต่อครั้ง และ 2) ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์โดยรวมสำคัญมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 3.75 คะแนน คือ ปัจจัยด้านการดูแลลูกค้า และประสิทธิภาพในการดำเนินการโดยรวมที่สำคัญที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 3.49 คะแนน คือ ด้านการจัดหาและใช้ทรัพยากร จากผล การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์กับประสิทธิภาพในการดำเนินการในทางสถิติ พบว่า ภาพรวมปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์ทางบวกน้อยกับภาพรวมประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.21 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์รายด้านเรื่องปัจจัยด้านระยะเวลาที่แน่นอนและความสมเหตุสมผลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพ การดำเนินงานด้านความพอใจของทุกฝ่าย ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.19 และ 0.19 ตามลำดับ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ชัชดาภรณ์ จอมโคกกรวด. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลดา พุ่มกะเนาว์. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจอาหารเสริม กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนิวทริไลท์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐพงษ์ สีบุญเรือง, สัญจิตา พรมโชติ และ พิมพา หิรัญกิตติ. (2565). การศึกษาคุณภาพการให้บริการไรเดอร์เดลิเวอรี่ระหว่าง Grabfood กับ LINE MAN ในสถานการณ์โควิด -19 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(2): 256 - 270.

ณัธภัชร เฉลิมแดน. (2563). ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม. 2(1): 92 – 106.

พีระนัฐ โล่วันทา. (2564). การตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันวิสา วงศ์คำสาย, สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ และ สุคนธ์ทิพย์ วงศ์พันธ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารโดยใช้แอปพลิเคชันบริการส่งอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 9(2): 140-158.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). Food Delivery โควิด...ดันธุรกิจโตต่อ คาดปี 64 มูลค่าทะลุ 5.3 หมื่นลบ. ขยายตัว 18.4 - 24.4%. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Food-Delivery-FB-24-08-21.aspx. (2564, 10 ตุลาคม).

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2550). โลจิสติกส์ก้าวย่างประเทศไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2562). รายงานการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://old.industry.go.th/pathumthani/index.php/2016-09-06-08-07-26/2016-09-06-08-09-08/23153-6-62-1/file. (2564, 2 มิถุนายน).

สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

อรรถพล ตรึกตรอง. (2554). การพัฒนาแผนกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมด้วยหลักฉลาดวางแผน (SMART Planning) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ แบบอิงมาตรฐานของโรงเรียนที่จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rded). New Jersey: Prentic-Hall.

Khazanie, R. (1996). Statistics in a World of Applications. Fourth Edition. New York: Harper Collins College Publishers.

Marketingoops. (2564). เผยอินไซต์ Food delivery ช่วงโควิดระลอก 3 ‘ใครคือลูกค้าหลัก-เมนูไหนฮิต-ช่วงใดขายดีสุด’ และ ‘ร้านอาหารควรปรับตัวอย่างไร’. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.marketingoops.com/news/insight-food-delivery-covid-19/. (2564, 2 มิถุนายน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023