การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ รัตนบุษย์ ภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, พลศึกษา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาและการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยการเปิดตาราง Krejcie & Morgan ประกอบด้วย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 86 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 32 คน และอาจารย์นิเทศก์ จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสภาพปัญหาแบบตรวจสอบรายการและคำถามปลายเปิด มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อค้นหาประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์และทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย อาจารย์นิเทศและอาจารย์นิเทศทั่วไป หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ครูพี่เลี้ยง ประธานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (1st Practicum) และนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (2nd Practicum) อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.33, S.D. = 0.61) และ (M = 2.91, S.D. = 0.61 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) สภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามความคิดเห็นของ ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (1st Practicum) มีสภาพปัญหาสูงกว่านักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (2nd Practicum) โดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (1st Practicum) มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (M = 3.65, S.D. = 0.64) และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (2nd Practicum) มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.96, S.D. = 0.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (2nd Practicum) มีสภาพปัญหาลดลงทุกประเด็นการพิจารณา
     แนวทางการแก้ปัญหาและการเตรียมความพร้อม พบว่า 1) ประธานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูใช้วิธีการแจ้งและแนะนำนักศึกษาโดยตรงเป็นรายบุคคล โดยมีการกำกับติดตาม ในทุก ๆ ระยะ รวมถึงนัดหมายชี้แจงทำความตกลงในรายละเอียดต่าง ๆ ตามขั้นตอน จากศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) นักศึกษาปฏิบัติการสอนตามที่ได้รับมอบหมาย เรียนรู้และปฏิบัติงาน ในหน่วยงานภายในโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ สังเกตการสอนของอาจารย์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์กับการสอนของตนเอง
     ข้อเสนอแนะจากการสนทนากลุ่ม ปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในสถานการณ์เกิดโรคติดเชื้อโคโรนา 19 (COVID 19) ผู้ร่วมสนทนาได้ให้แนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่เป็นไปตามประกาศของโรงเรียน 2) เตรียมแผนการสอนทั้งรูปแบบออนไลน์และการสอนในสถานศึกษาสำหรับการแก้ไขเหตุการณ์ เฉพาะหน้า อุปกรณ์ สื่อการสอน สัญญาณอินเทอร์เน็ต 3) แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจ่อของนักเรียน ปฏิบัติหรือให้ทำงานภายในคาบเรียน ไม่ควรมอบหมาย ภาระงานมากเกินไปและไม่จำเป็นต้องให้การบ้าน

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ขนิษฐา หินอ่อน และสุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. (2558). ปัญหาและแนวทางพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6(1): 159 - 167.

คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานและเกณฑ์ในการรับรองปริญญา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.ksp.or.th (2565, 19 มีนาคม 2565).

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา อรอนงค์ ชูวงศ์ และพัฒน์นรี อัฐวงศ์. (2554). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอำนวย มหาวีโร และริศร พงศ์สุวรรณ. (2562). สภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตเอเชีย. 9(2): 99 - 105.

มนัสวี ศรีนนท์ และพระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2562). ปัญหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารพุทธมัคค์. 4(1): 15 - 22.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: ศูนย์วิจัยพัฒนาทางการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมธาวี ศรีสิงห์ และศราวุธ อินทรเทศ. (2562). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 18(3): 251 - 223.

วิชาญ มะวิญธร. (2560). การบูรณาการทฤษฎีสู่การปฏิบัติของนิสิตครูสาขาวิชาพลศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32(2): 95 - 103.

สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 8(1): 63 - 76.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological. 30: 607 - 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023