ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พรัชฌา พิชญปัญญากุล หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
  • ปิยฉัตร ล้อมชวการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
  • กมลรัฐ อินทรทัศน์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดออนไลน์, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, ชุดชั้นในชาย, กลุ่มเจเนอเรชั่นซี

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับสื่อและการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบลักษณะ ทางประชากรของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานครกับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชาย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของ กลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ที่มีพฤติกรรมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำกัดเพศและอายุ อาศัยในกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
     ผลการวิจัยพบว่า
     1. กลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานคร มีการเปิดรับสื่อมากที่สุดในช่วงเวลา 18.01 น. - 21.00 น. มีการเปิดรับสื่อทุกวัน ๆ ละ 1-3 ชั่วโมง ต่อครั้ง วันที่เปิดรับสื่อมากที่สุด คือ วันเสาร์ และเครื่องมือการสื่อสารที่ใช้มากที่สุด คือ สมาร์ทโฟน
     2. การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ข้อมูลและการส่งเสริมการขายมีผลกับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานคร
    3. ผลการเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรของกลุ่มเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานครกับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชาย ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และการศึกษา มีการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
     4. การสื่อสารการตลาดออนไลน์ ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


References

ธัญรัตน์ รัตนกุล. (2558). การสื่อสารทางการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในยี่ห้อวาโก้ของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัลลภา ปีติสันต์. (2017). Generation C ปรากฏการณ์ใหม่เจนใหม่ จับอินไซต์คนคอนเนค. For Quality Marketing & Branding. มหาวิทยาลัยมหิดล. 24(222): 31-32.

พิริยะ เงินศรีสุข และเสรี วงศ์มณฑา. (2563). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล สำหรับนักท่องเที่ยว 4.0. วารสารรัชต์ภาคย์. 14 (34): 313 - 321.

พิริยะ เงินศรีสุข. (2563). ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล สำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว 4.0. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา.

เพชรจันนิวส์ (2012). เจเนอเรชั่น และความต่าง “Gen-X Gen-Y Gen-C”. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://phetchannews.com/2012/07/25/เจเนอเรชั่น-และความต่าง/ (2564, 25 กันยายน)

วรมน บุญศาสตร์. (2558). การสื่อสารการตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น ซี ในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 1(1), 14–30. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.gscm.nida.ac.th/ gscmconference/images/Journal/Vol.1/2.pdf (2564, 25 ตุลาคม)

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ GenZ ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx?feed=cb66f430-5546-4dd8-b279-3827e88d154b (2565, 20 มีนาคม)

สำนักบริหารการทะเบียนกลาง กรมการปกครอง. (2564) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17194210.pdf (2565, 1 มกราคม)

Becker, S. L. (1978). Discovering mass communication. Illinois: Scott Foresman and Glenwave. อ้างใน ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2560). ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร. ใน ทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 6 (หน้า 2-76). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers. Retrieved from https://www.scirp.org/(S(lz5mqp45 3edsnp55rrgj ct55) /reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=2041144 (2564, 25 มีนาคม)

DeLozier, M. Wayne. (1976). The Marketing Communications Process. New York: MetRaw-Hill Book Company.

Fisher, R. A. (1973). Statistical Methods and Scientific Inference. New York: Macmillan. อ้างใน ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. & Armstrong, g. (1999). Principles of Marketing. (8th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Piroj, K. (2018). Marketing: Gen C คืออะไร พฤติกรรม Generation C มีอะไรน่าสนใจ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://greedisgoods.com/gen-c %E0%B8%84%E0%B 8%B7%E0%B8%AD-generation-c/ (2564, 25 กันยายน)

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023