การเสริมสร้างศักยภาพสู่การท่องเที่ยววิถีชุมชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ : สังคม วัฒนธรรม และการปรับตัว

ผู้แต่ง

  • ปรียาณัฐ บัวทองจันทร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนันทนาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • วิเชียร โบบทอง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนันทนาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • กษิดิ์เดช ตรีทอง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนันทนาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • ปรัศนี ช่วยการ ซอลิฮี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนันทนาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • ปิยธิดา ปาลรังสี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนันทนาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ จังหวัดกระบี่

คำสำคัญ:

ศักยภาพของชุมชน, การท่องเที่ยววิถีชุมชน, การปรับตัว

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพของชุมชนด้านลักษณะทางกายภาพ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมและการปรับตัวของคนในชุมชนจังหวัดกระบี่ และแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการท่องเที่ยววิถีชุมชนจังหวัดกระบี่ มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ (IOC) มีค่า 0.96 และแบบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะโดยให้คะแนน 1 - 10 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือน จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายประกอบด้วย 3 ชุมชนได้แก่ ชุมชนแหลมสัก ชุมชนอ่าวลึกน้อย และชุมชนบ้านนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชน จำนวน 6 คน การวิเคราะห์ใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.43) เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.9 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 53.17) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ29.65) และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 51.39) โดยทั้ง 3 ชุมชนต่างมีศักยภาพด้านลักษณะทางกายภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามมากที่สุด รองลงมามีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ และมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (ค่าเฉลี่ย 8.69, 8.42 และ 8.25) ตามลำดับ แต่ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนคือถนน ไฟฟ้า ประปา และถังขยะที่เพียงพอ ศักยภาพด้านการรักษาคุณภาพแวดล้อม พบว่า ชุมชนไม่มีเสียงรบกวนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ประเด็นถังขยะเพียงพอและมีการออกแบบกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และการบำรุงรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโตสวยงาม(ค่าเฉลี่ย 7.59, 7.24 และ 7.23) ตามลำดับ ศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การท่องเที่ยว พบว่า มีเครือข่ายกลุ่มองค์กรในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมากที่สุด รองลงมามีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนงบประมาณหรือให้ความรู้เกี่ยวกับการคิดค้นผลิตภัณฑ์ตลอดจนทำการตลาด และสมาชิกในชุมชนมีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแสดงให้เห็นฐานะทางการเงินอย่างชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 7.60, 7.49 และ 7.36) ตามลำดับ ศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนมีเวลาหรือยุคสมัยของการสืบทอดภูมิปัญญามากที่สุด รองลงมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชุมชนและสามารถสร้าง ความผูกพันระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชน และชุมชนมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง ส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นแต่งกายเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน (ค่าเฉลี่ย 8.63, 8.54 และ 8.03) ตามลำดับ
ศักยภาพด้านการปรับตัว พบว่า ชุมชนมีความตื่นตัวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนมากที่สุด รองลงมามีความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และเตรียมเปิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 8.03, 7.59 และ 6.98) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ได้ข้อค้นพบคือ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต้องพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีความพร้อม พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้มีทักษะในการบริหารจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชน จัดสรรงบประมาณเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกด้าน พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย และเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชน พบว่า แนวทางที่จะเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนคือ ต้องให้ชุมชนมีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยความร่วมมือของคนในชุมชน ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสำรวจ ความพร้อมของสาธารณูปโภค ต้องให้ความรู้กับคนในชุมชนเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ต้องมี ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง โน้มน้าวให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของการพัฒนา ชูเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก ผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจ ในข้อดีข้อเสียของการพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน การรับมือกับนักท่องเที่ยว ทั้งด้านที่พัก อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย รวมทั้งผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา เพื่อให้คนในชุมชนสามารถรับมือและสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. 1(4). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก: https://api.tourismthailand.org/upload/live/ content_article_file/20603-15378.pdf. (2561, 25 ตุลาคม).

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). รายได้จากการท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก: https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report. (2561, 25 ตุลาคม).

จังหวัดกระบี่. (2562,ก). การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่. เข้าถึงได้จาก: http://krabi.thailocallink.com/files/com_km/2016-10_652ab7605cd7d6b.pdf. (2562, 18 มกราคม).

จังหวัดกระบี่. (2562,ข) แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนจังหวัดกระบี่. เข้าถึงได้จาก: https://krabi.mots.go.th/download/article/article_20191211131822.pdf. (2562, 20 มกราคม).

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน. (2563). แถลงสรุปสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.). เข้าถึงได้จาก: https://board.postjung.com/1209921. (2563, 18 กันยายน).

นัขนลิน อินทนุพัฒน์. (2563). ศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนอ่างเก็บน้ำลำพอก จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม. 39(2): 61-73.

นุชประวี ลิขิตสรันทร์ และคณะ. (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 14(1): 235-252.

ปรัชญากรณ์ ไชยคช, นิศาชล สกุลชาญณรงค์ และนิธิกิตติกานต์ เหมสุวรรณ์. (2559). ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7. 23 มิถุนายน 2559. (424-436). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุพชาติ ดวงดี. (2560). รูปแบบการพัฒนาการเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(6): 218-227.

วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษา ตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26(1): 63-74.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). การสร้างมาตรวัดสำหรับการวิจัยที่ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา.

Watcharakiettisak, T. (2017). Community economic strengthening by developing community enterprise group at Tambon polsongkramadministration organization, Nonsung district, Nakhornratchasima province. Journal of Business Administration, The Association of Private Higher Education Institution of Thailand. 5(1): (43-54).

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023