การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในภาคตะวันออก หลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ภาคตะวันออกบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสำรวจพื้นที่ และใช้แบบแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวใน 4 จังหวัด ภาคตะวันออก จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการวิเคราะห์ TOWS เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพ การท่องเที่ยวของภาคตะวันออกหลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผลการศึกษาพบว่า ทรัพยากรหลักในพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถสร้างความหลากหลายและความแตกต่างกับภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่คำนึงถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคตะวันออกท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวระหว่างการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ 2) การนำเทคโนโลยีมาใช้กับการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มากขึ้น เช่น การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านการแพทย์ทางไกล และ 3) การสร้างภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์ เช่น มาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและ ความน่าเชื่อถือของบริการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). Infographic สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือน มกราคม-ธันวาคม 2562P. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/download/article/article_20200123132650.jpg (2564, 1 พฤษภาคม)
กัญญทอง หรดาล, รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์ และประศาสน์ นิยมวิศาล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://so09.tcithaijo.org/index.php/rabij/article/view/1061. (2566, 24 กรกฎาคม)
เขมรัฐ เสริมสมบูรณ์ และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2565). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jfam/article/view/4994. (2565, 24 พฤศจิกายน)
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2564). ตราดพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเล็งใช้ผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_127574 (2564, 1 พฤษภาคม)
นาวา มาสวนจิก, ปิยะวรรณ ยางคำ, พรวดี รักษาศรี, กชนิภา วานิชกิตติกูล และอัจฉรพร เฉลิมชิต. (2562). การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M127603/Masaunjik%20Nava.pdf (2565, 24 พฤศจิกายน)
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2563). คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://tatreviewmagazine.com/article/snapshot-third-quarter/. (2564, 1 พฤษภาคม)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการารพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.eeco.or.th/th/tourism-development-and-promotion. (2564, 1 พฤษภาคม)
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID -19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf. (2564, 1 พฤษภาคม)
Crouch, Geoffrey I. (2007). Modelling Destination Competitiveness: a survey and analysis of the impact of competitiveness attributes. Australia: CRC for Sustainable Tourism Pty Ltd. Printed.
Global Wellness Institute. (2018). Global wellness economy monitor- October 2018. [Online], Available: https://globalwellnessinstitute.org/industry-research/2018-global wellness-economy-monitor/. (2021, 1 March).
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2(2), 49-60.
World Travel and Tourism Council. (2020). Travel & tourism economic impact. [Online], Available: http://www.wttc.org/site_media/uploads/downloads/ Economic Impact_Summary_2014_2ppA4_FINAL.pdf. (2021, 1 March).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 พรรณิภา อนุรักษากรกุล, ปัณฑา โกกอง, ปาจรา โพธิหัง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์