วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ปิติพันธุ์ น้อยอยู่นิตย์ โรงเรียนวัดหนองจอก(ภักดีนรเศรษฐ)
  • กัลยมน อินทุสุต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ, โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก, การบริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครู โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก กำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 354 คน กำหนดสัดส่วนตามขนาดโรงเรียน แล้วสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.99 โดยรวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กันยายนถึง 7 ตุลาคม 2565 แล้ววิเคราะห์ด้วยร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยแบบทดสอบของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครูต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ในภาพรวม และรายด้านแตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือ ด้านความมีคุณภาพ และ ด้านการยอมรับไม่พบความแตกต่าง 4) ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน

References

จุรีพร ปิยะโสภาสกุล. (2556). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนคลองกิ่วยิ่งวิทยา อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนาพนธ์ ตาขัน. (2562). ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยนันท์ ศิริโสภณ. (2565). วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ภัทราภรณ์ รักษาวงศ์. (2560). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราภัฏสุราษฎร์ธานี.

ลักขณา ธานี. (2560). วัฒนธรรมโรงเรียนตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเทศบาลหลมฉบัง 3 สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัลลภ บุตรเกตุ. (2562). วัฒนธรรมองค์การกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2561). แนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 11(2): 102-113.

สมุทร ชำนาญ. (2555). การบริหารสถานศึกษาท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(1): 3.

สุนิสา ศรีอัสดร. (2561). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์การศึกษา.

Patterson. (1986). School culture. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023