การพัฒนาสมรรถนะของครูตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชวนพิศ ชุมคง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะของครู, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43, การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะของครูตำรวจตระเวนชายแดน ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 คน เป็นการเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินสมรรถนะการสอนของครู 2) แบบบันทึกกระบวนการ PLC และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของครู สถิติที่ใช้เป็นการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์หลังพัฒนาโดยการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สูงกว่าก่อนพัฒนา ข้อที่มีผลการพัฒนามากที่สุด คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ (1.11) รองลงมา คือ การเลือกอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา และกับสถานการณ์ (1.08) การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในระหว่างการจัดการเรียนรู้ (1.08) การวางแผนด้านเวลาได้อย่างเหมาะสม และสัมพันธ์กับการเรียนรู้ของผู้เรียน (1.08) และความสนใจผู้เรียนและสังเกตพฤติกรรมการเรียน ของผู้เรียน (1.08)
2. ความพึงพอใจของครูต่อการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.67) S.D. = .14 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิทยากร อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 5.00) S.D. = .00 รองลงมา ได้แก่ ด้านระยะเวลา อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.80) S.D. = .16 และด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก (M = 4.38) S.D. = .29

References

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน แนวคิดแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์. 45(1): 299-319.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ = Professional learning community: PLC. นนทบุรี: M & N design printing.

สัญชัย เกียรติทรงชัย. (2563). ความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://shorturl. asia/l1Vst. (2563, 27 เมษายน).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2564 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/MyCom/Downloads/BOOK-O-NET.pdf

สมศักดิ์ บุญขำ, ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง และปกรณ์ ประจัญบา. (2558) . ศึกษารูปแบบการพัฒนา สมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.

อมลวรรณ วีระธรรมโม และคณะ. (2562). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎ์ธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 7(3): 57-64.

อุมา สุคนธมาน. (2547). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูประถมศึกษา: ครูยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 32(3): 29-37.

อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้วและคณะ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพ โรงเรียนในพระราชดำริฯและโรงเรียนขาดแคลนในพื้นที่การศึกษา 4 จังหวัดภาคใต้ มหาวิทยลัยทักษิณ. สงขลา: (อัดสำเนา) มาสเตอร์พีช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023