สภาพและความต้องการพัฒนาการยกระดับทักษะเพื่ออนาคต ของแรงงานนอกระบบการศึกษาในสถานประกอบกิจการ ที่เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
สภาพและความต้องการ, ความต้องการจำเป็น, ทักษะเพื่ออนาคต, สถานประกอบกิจการ, เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาการยกระดับทักษะเพื่ออนาคตของแรงงานนอกระบบการศึกษาในสถานประกอบกิจการที่เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารจากพืช โรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว และโรงงานแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 86 แห่ง กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงานสำนักงาน พนักงาน ฝ่ายผลิต พนักงานซ่อมบำรุง และพนักงานคลังสินค้า จำนวน 476 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.85-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.978 และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี ความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของทักษะเพื่ออนาคตของแรงงานนอกระบบการศึกษา ในสถานประกอบกิจการที่เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมาก (M = 3.68, S.D. = 0.64) สถานประกอบกิจการที่มีค่าเฉลี่ยสภาพสูงสุด คือ โรงงานน้ำตาล (M = 3.95, S.D. = 0.65) ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสภาพสูงสุด คือ ความฉลาดทางสังคม (M = 3.89, S.D. = 0.73) 2) ความต้องการพัฒนาการยกระดับทักษะเพื่ออนาคตของแรงงานนอกระบบการศึกษาในสถานประกอบกิจการที่เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมาก(M = 4.03, S.D. = 0.81) สถานประกอบกิจการที่มีค่าเฉลี่ยความต้องการสูงสุด คือ โรงงานอาหารสัตว์(M = 3.58, S.D. = 0.58) ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยความต้องการสูงสุด คือ ความฉลาดทางสังคม (M = 4.11, S.D. = 0.90) และ 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการยกระดับทักษะเพื่ออนาคตของแรงงานนอกระบบการศึกษาในสถานประกอบกิจการที่เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี (PNIModified = 0.10) สถานประกอบกิจการที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ โรงงานอาหารสัตว์ (PNIModified = 0.47) ทักษะที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ นำเทคโนโลยีมาใช้ทำงาน (PNIModified = 0.14) และ 3) ผลการสนทนากลุ่มแนวทางพัฒนาการยกระดับทักษะเพื่ออนาคตของแรงงาน นอกระบบการศึกษาในสถานประกอบกิจการที่เชื่อมโยงกับผลิตผลทางเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ทักษะเพื่ออนาคตมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ โดยให้ความสำคัญกับทักษะคิดแบบมีเหตุผลและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน
References
กระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.
ชินจิรัฎฐ์ จรัญศิริไพศาล และคณะ. (2565). ผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ต่อการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ. 3(1): 112-118.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2562 – 2580. (2561, ตุลาคม 13). ราชกิจจานุเบกษา, 135(82ก), 19-30.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2563. สุพรรณบุรี: สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี.
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี . (2566). แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สุพรรณบุรี: สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). อาหารเกษตรและเกษตรแปรรูปเชื่อมโยงกันอย่างไร ให้เศรษฐกิจยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
Bakhshi, H. et al. (2017). The Future of Skills: Employment in 2030. London: Pearson and Nesta.
Lund, S. et al. (2021). The future of work after COVID-19. McKinsey Global Institute. [Online], Available: https://www.mckinsey.com/featured-insights/future-of-work/the-future-of-work-after-covid-19. (2023, 15 July).
OECD. (2018). Education Policy in Japan: Building Bridges Towards 2030, Reviews of National Policies for Education. [Online], Available: https://www.oecd-ilibrary.org/education/education-policy-in-japan_9789264302402-en. (2023, 15 July).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 เจษฎา พลายชุมพล, ประพันธ์ศักดิ์ ตวงสุวรรณ, พิไลวรรณ พิทักษ์เกียรติยศ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์