ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาว สู่การออกแบบชุดสตรีเรโทร

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร ธนกิจสุนทรกุล คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุชีรา ผ่องใส คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ทุนวัฒนธรรม, การย้อมสีธรรมชาติ, การออกแบบ, เปลือกตะบูนขาว, ชุดสตรีเรโทร

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเรื่อง ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาว ของจังหวัดสมุทรสงคราม 2) การออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาว 3) การออกแบบแบบตัดชุดสตรีสไตล์เรโทร และ 4) ความพึงพอใจที่มีต่อชุดสตรีสไตล์เรโทรโดยใช้ ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีจากเปลือกตะบูนขาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกต การทดลอง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มประชากร กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 20 คน
     ผลการวิจัยพบว่า ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเปลือกไม้เขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม ให้สีน้ำตาลร่วมกับการใช้น้ำขี้เถ้าเป็นส่วนสำคัญในการเป็นสารช่วยติดสี การต้มสกัดสี และย้อมสี จึงทำให้ผ้ามัดย้อมจากเปลือกตะบูนขาวมีความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อน้ำ และความคงทนของสีต่อแสง ด้านการออกแบบลวดลาย ผ้ามัดย้อมได้การมัดย้อมแบบชิโบริลายใบและดอกตะบูน ด้านการออกแบบตัดชุดสตรีสไตล์เรโทร ได้ชุดติดกันแบบกระโปรงวงกลม รูปแบบที่ 1 ชุดติดกันแบบ A - Line (ทรงเอ) รูปแบบที่ 2 และเสื้อ กระโปรง รูปแบบที่ 1 ด้านลวดลายได้ผลการประเมิน มีระดับความพึงพอใจมาก ที่ค่าเฉลี่ยที่ 3.94 ด้านการออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร ชุดติดกันแบบกระโปรงวงกลม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.10

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). ทุนวัฒนธรรมไทยสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ. อุตสาหกรรมสาร. 58(4): 6.

จักรพันธ์ สุระประเสริฐ. (2558). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้าย: กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทลื้อบ้านเฮี้ย อ.ปัว จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จุฬาลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2554). ศิลปะการแต่งกาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

เจียมจิต เผือกศรี. (2546). การออกแบบเสื้อ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ณัฐชา ลี้ปัญญาพร. (2563). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่งในมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย จังหวัดสมุทรสงคราม. (2563). กลุ่มเปลือกไม้บ้านเขายี่สาร สมุทรสงครามหรือชุมชนคุณธรรมบ้านเขายี่สาร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://web.facebook.com/102356518504261/posts/108133277926585/?_rdc=1&_rdr. (2565, 21 เมษายน).

พีนาลิน สาริยา. (2549). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,.

มูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์. (2545). ในความเคลือนไหว เปิดพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร: มูลนิธิ เล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://lek-prapai.org/home/view.php?id=649. (2565, 21 เมษายน).

ศรัณย์ จันทร์แก้ว. (2554). การพัฒนาลวดลายพิมพ์จากศิลปะอาร์ตนูโวบนผ้าใยกัญชงเพื่อออกแบบชุดทำงานสตรี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). มปป. สีธรรมชาติ. [ออนไลน์], เข้าถึงจาก: http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content. (2565, 20 เมษายน).

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม. (2563). การทำผ้ามัดย้อมยี่สาร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://samutsongkhram.m-culture.go.th/th/db_29_samutsongkhram_20/46367 (2565, 20 เมษายน)

สุภาพร อามิตร. (2560). การออกแบบลายพิมพ์ผ้าจากแรงบันดาลใจศิลปะไทยจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา: กรณีศึกษาวัดใหญ่สุวรรณาราม (จังหวัดเพชรบุรี). วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุภาวดี ฉิมไทย. (2556). การผลิตรายการโทรทัศน์รูปแบบสาระบันเทิงเกี่ยวกับแฟชั่นวินเทจสำหรับวัยรุ่น. จุลนิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวนิตย์, กาญจนรัตน์. (2557). ภาพพิมพ์ Parbpim Printing. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/parbpim/posts/729443727119275/?locale=th_TH (2566, 20 ตุลาคม)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023