ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินที่มีอิทธิพลต่อระดับความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษาพื้นที่เขตขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สัจจพร คงจิตงาม คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • วาสิตา บุญสาธร คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงิน, ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงาน, เจเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงิน ที่มีอิทธิพลต่อระดับความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษาพื้นที่เขตขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในส่วนของงานวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้ตารางการสุ่มตัวอย่าง ได้พนักงานเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 117 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 15 คน ที่ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นผู้มีความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ค่าสถิติ Levene Statistic และค่าสถิติ Brown-Forsythe
     ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานของพนักงาน เจเนอเรชั่นวาย ที่มีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การทำงานที่มีคุณค่า (.000*) ความหลากหลายของงาน (.000*) และความสมดุลของงานที่ได้รับมอบหมาย (.002*) ตามลำดับ และ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นวาย ได้แก่ คิดบวกและมีกรอบความคิดเติบโต การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ความสมดุลการใช้ชีวิต ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน ความผูกพันกับหัวหน้างาน ความร่วมมือ ในการทำงานและการทำงานเป็นทีม งานที่มีคุณค่า ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร ความหลากหลายของงาน การได้รับคำชมและยกย่อง

References

ตรีทิพย์ ขันตรี และ วาสิตา บุญสาธร. (2562). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานเป็นวิทยากรในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กรณีศึกษาบริษัทรถยนต์ข้ามชาติแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 45(1): 171-199.

ภคภัค สังขะสุนทร และ วาสิตา บุญสาธร. (2558). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในวิชาชีพบุคคล: กรณีศึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน). วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. 7(2): 43-69.

สัจจพร คงจิตงาม. (2564). ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินที่ส่งผลต่อระดับความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน ในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษาองค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. [Online], Available: https://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1617171499-823_0.pdf (2023, 1 November),

สิรีมนต์ ปัญญาวุธ. (2564). ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินและเทคนิคการสื่อสารของผู้นำที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานจากที่ใดก็ได้ กรณีศึกษาฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Ayers, E. K. (2006). Engagement Is Not Enough: You Need Passionate Employees to Achieve Your Dream. Elevate: Illustrated Edition.

Boonsathorn, W. & Sirakiatsakul, P. (2019). The Factors Enhancing Work Passion of Family Successors in The Life Insurance Business in Thailand: An Appreciative Inquiry Approach. International Journal of Human Resource Studies. 9(1). 1-15.

Dewhurst, M., Guthridge, M. & Mohr, E. (2009). Motivating People: Getting Beyond Money. [Online], Available: http://Www.Mckinsey.Com/Business-Functions/Organization/Our-Insights/Motivating-People-Getting-Beyond-Money (2022, 10 February)

Hardgrove, M. E., & Howard, A. P. (2015). Passion Thrillers and Passion Killers: How to Support and How to Thwart Employee Passion. Journal of Business &Amp; Economic Policy. [Online], Available: https://Jbepnet.Com/ Journals/Vol_2_No_1_March_2015/2.Pdf. (2022, 10 February)

Keith E. A. (2006). Engagement Is Not Enough. Advantage Media Group.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Likert, R. N. (1970). A Technique for The Measurement of Attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal Mcnally & Company.

Luo, Z., Bai, X., Min, R., Tang, C. & Fang, P. (2014). Factors Influencing the Work Passion of Chinese Community Health Service Workers: An Investigation in Five Provinces. Bmc Family Practice. 15(1): 1-9.

Salessi, S., Omar, A. & Vaamonde, D. J. (2017). Conceptual Considerations of Work Passion. Ciencias Psicológicas. 11. 165-178.

Zigarmi, D., Houson, D., Witt, D. & Diehl, J. (2020). Employee Work Passion: What’s Important In Creating A Motivating Work Environment and Whose Job Is It?. [Online], Available: https://Adsidera.Hu/Adsidera_Files/File/Blanchard_ Employee_Passion_Vol_4.Pdf (2022, February)

Zigarmi, D., Nimon, K., Houson, D., Witt, D. & Diehl, J. (2009). Beyond Engagement: Toward A Framework and Operational Definition for Employee Work Passion. Human Resource Development Review. 8, 300-326.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023