การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี โดยใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อาทิตยา ทวีแสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • สิริยากร โสพิลา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้, การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง, วรรณคดี, พระอภัยมณี

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี หลังใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับ การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ปี 4 ที่มีต่อการใช้เทคนิคการสอน แบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่องในการเรียนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนจารุศรบำรุง จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร โดยใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง จำนวน 3 แผน ทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 4.42 มีความเหมาะสมในระดับมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง พระอภัยมณี ทั้งฉบับมีค่าความยากง่าย เท่ากับ 0.66 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.81 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 3) แบบประเมินความพึงพอใจ มีความเหมาะสมในระดับมาก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี หลังใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี หลังใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer) ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิคการสอนแบบโครงสร้างความรู้ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หนังสือวรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

กิตติยา รัศมีแจ่ม. (2561). วรรณคดีไทยในยุคประเทศไทย 4.0. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://so03.tcithaijo.org/index.php/oarit/article/download/137484

/102335/364614. (2566, 1 มีนาคม)

ธัญญารัตน์ ชื่นแสงจันทร์. (2563). ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยนำไปสู่การเรียนรู้. วารสารสังคมศึกษา มมร. 5(1): 66-78.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2561). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

ภิญญาภัสส์ ทิพย์โยธา. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มูนาดา หมัดอะด้ำ. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รณชัย จันทร์แก้ว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทน ในการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สาริณี หนูหมาด. (2557). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษไทย โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุมาลี ชูบุญ. (2560). ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023