การศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
คลัสเตอร์, พัฒนาศักยภาพ, ผักปลอดภัยบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชน และบริบทเฉพาะของกลุ่ม ผักปลอดภัย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) พัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) ศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกรผักปลอดภัย อำเภอหล่มสัก จำนวน 4 กลุ่ม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค และการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้แบบจำลองระบบเพชร กลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัย อำเภอหล่มสัก มี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ตำบลปากดุก จำนวน 30 คน กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ตำบลปากช่อง จำนวน 51 คน กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ตำบลบ้านกลาง จำนวน 35 คน และกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ตำบลบ้านหวาย จำนวน 35 คน มีสมาชิกทั้งสิ้น 151 ราย จำนวนพื้นที่ที่ปลูกผัก 1,008.5 ไร่ ผักส่วนใหญ่เป็นผักทานใบ เช่น ผักบุ้ง ผักชี ผักชีฝรั่ง ที่ผลิตตามฤดูกาล กระบวนการผลิต ปลูกเองโดยใช้ต้นกล้าจากสมาชิก ในกลุ่ม การเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานในครอบครัว และจ้างแรงงานในพื้นที่ ส่งขายให้กับตลาดผักเสียงอดิศร และบริษัทรับซื้อ การควบคุมคุณภาพของผลิตผ่านมาตรฐาน GAP จากการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัย มีความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่ม แต่ยังเป็นการรวมกลุ่มในระดับต่ำระดับที่ 1 คือกลุ่มที่เพิ่งเริ่มรวมตัวกัน
เมื่อศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัย พบว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนมีแนวโน้มในทางที่ดี ปัจจัยการผลิตมีแนวโน้มในทิศทางที่เป็นลบ เนื่องจากต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง ด้านอุปสงค์มีแนวโน้มในทางที่ดี โครงสร้าง และสภาพการแข่งขันมีแนวโน้มในทางที่ดี ด้านรัฐบาลมีแนวโน้มในทางที่ดี จึงสรุปได้ว่ามีโอกาสความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดภัย เนื่องจากมีปัจจัยเชิงบวกที่สามารถพัฒนาเป็นการรวมกลุ่มได้ ส่วนด้านเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นมีเหตุที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2565). แนวคิดและกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาการรวมกลุ่ม และเชื่อมโยงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2565).
ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล และ คณิดา ไกรสันติ. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานไทร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 (น.969-984). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี, ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์, บุญชาติ คติวัฒน์ และวันเพ็ญ กลับกลาย. (2561). การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าพักเบอร์ 8 เพื่อยกระดับศักยภาพของกลุ่มเกษตรกร ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 38(4): 52- 65.
วีระพล ผ่องสุภา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070121.pdf (2565, 9 มีนาคม)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. “พลิกโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: ข่าวสาร/กิจกรรม.
Porter, E. M. (1980). The Comparative Advenger of Nation. [Online], Available: New York. A Division of Macmillan. (2023, 11 September).
Porter, E. M. (1990). The Competitive Advantage of Nations. [Online], Available: London: Macmillan. (2023, 11 September).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 จตุพร จันทร์เพชร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์