การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม: น้ำพริกแกงปรุงรส ของกลุ่มอาชีพ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
น้ำพริกแกงปรุงรส, ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์, พัฒนาผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารสร้างสรรค์ ให้กับกลุ่มอาชีพ พื้นที่ศึกษาคือ ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่สนใจจัดตั้งกลุ่มอาชีพ 15 คน ปราชญ์ชุมชนด้านอาหารไทย 3 คน และผู้เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 3 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การเสวนากลุ่ม ระดม ความคิดเห็น สังเกต ประชุมเชิงปฏิบัติการ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากทรัพยากรทางการเกษตร ทุนทางความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และทุนทางสังคมของชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของคนในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการประกอบอาหารโดยต่อยอดจากภูมิปัญญาการทำน้ำพริกแกงดั้งเดิมของชุมชน ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชุมชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจนได้ 3 ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ น้ำพริกแกงเผ็ดปรุงรส น้ำพริกแกงส้มปรุงรส และน้ำพริกแกงเขียวหวานปรุงรสจากนั้นถ่ายทอดองค์ความรู้และสูตรต้นแบบที่พัฒนาขึ้น ในด้านสูตรมาตรฐาน การยืดอายุการเก็บรักษา และระดมความคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้สินค้ามีเอกลักษณ์และจดจำง่าย ส่งเสริมอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค
References
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2541). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. เล่มที่ 23 เรื่องที่ 1 ภูมิปัญญาไทยสำหรับเด็กระดับกลาง.
จุฑามาศ ศรีรัตนา. (2561). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับไทยแลนด์ 4.0. วารสารเกษมบัณฑิต. 19(ฉบับพิเศษ): 208-228.
ดรุณี มูเก็ม. (2560). การพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์น้าพริกกุ้งเสียบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปริง จังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3(2): 69-79.
ภานุ พิมพ์บูรณ์ และสุรพงษ์ แสงเรณู. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐานบ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬาคชสาร. 12(2): 163-172.
ประมุข ศรีชัยวงษ์ และกรกมล ไวยราบุตร. (2561). การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านจากย่านางเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน. Area Based Development Research Journal. 10(2): 160–170.
พัชราพรรณ เสงี่ยมศักดิ์. (2560). ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาของไทย. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วุฒิชัย วิถาทานัง. (2564). การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์กล้วยม้วนสอดไส้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์และพืชสมุนไพรละลุ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12(2): 148-160.
สามารถ จันทร์สูรย์. (2536). ภูมิปัญญากับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.
อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2557). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านบางหัวเสือ จังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/56789/2086. (2566, 17 มิถุนายน)
อัจฉราวรรณ สุขเกิด และวรุณี เชาวน์สุขม. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารจากภูมิปัญญาและทุนวัฒนธรรมมอญ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 12(3): 128-141.
อาทิตยา ลาวงศ์, อรรถกร จัตุกูล, ขัตติยา ชัชวาลพาณิชย์, ปัญจมาพร ผลเกิด, วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 5(1): 23-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา, ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์, วัฒนา อัจฉริยะโพธา, สุจาริณี สังข์วรรณะ, วิษชญะ ศิลาน้อย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์