การตัดสินใจของนักเรียนนักศึกษาต่อการศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, การศึกษาต่อของนักเรียนนักศึกษา, วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง เพศ อายุ และรายได้ของครอบครัว และจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตัดสินใจของนักเรียนนักศึกษาต่อการเข้าศึกษา ในวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี จำนวน 521 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซีและมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่ายได้จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น ประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 โดยรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจของนักเรียนนักศึกษาต่อการศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนนักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการตัดสินใจโดยรวม และรายด้านคือ ด้านการบริหารการจัดการและการบริการและด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน นักเรียนนักศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีการตัดสินใจ โดยรวมและรายด้าน คือด้านการบริหารการจัดการและการบริการ ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน นักเรียนนักศึกษาที่มีรายได้ของครอบครัวต่างกัน มีการตัดสินใจ โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการบริหาร การจัดการและการบริการ ด้านวิชาการและชื่อเสียงของสถานศึกษาและด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กฤษณ์ บุตรเนียน. (2554). ปัจจัยในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรฐา แก้ววิเชียร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชุมพล เพชรพลอย. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนในการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์). วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธงทอง จันทร์เที่ยง. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาของนักเรียนในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (มัธยมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2565). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
ประสพ โพธิ์สังข์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนในการเข้าเรียนต่อที่โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พีรวัฒน์ ขุนยศ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนของนักเรียนสายอาชีวศึกษาในจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: ประสานการพิมพ์.
ศศิธร ปัญญา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนในการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนของรัฐระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรเทพ เจือลิ้มสกุล. (2556). ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในอาชีวศึกษาสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกสิทธิ์ เดชสุระ. (2554). ปัจจัยที่นักเรียนตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของเอกชนเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (มัธยมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ประสิทธิ์ อังกินันทน์, พงษ์สวัสดิ์ พิมพิไสย, อัชฌพร อังกินันทน์, อัชฌสิทธิ์ อังกินันทน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์