การวิเคราะห์อรรถกถาธรรมบทแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท : เรื่องเล่าเชิงจริยธรรม
คำสำคัญ:
ธรรมบท, เรื่องเล่า, จริยธรรม, อรรถกถา, พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์จริยธรรมในอรรถกถาธรรมบท ยมกวรรค 2) วิเคราะห์สหวิทยาการในอรรถกถาธรรมบท ยมกวรรค และ 3) วิเคราะห์อนุภาคแห่งเรื่องเล่า ในอรรถกถาธรรมบท ยมกวรรค เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลเอกสารจากคัมภีร์พระไตรปิฎก หนังสืออรรถกถาธรรมบท ยมกวรรค และวิเคราะห์ประมวลผลจริยธรรม สหวิทยาการ และอนุภาคแห่งเรื่องเล่า
ผลการวิจัย พบว่า จริยธรรมในอรรถกถาธรรมบท ยมกวรรคแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท มีลักษณะธรรมตรงกันข้ามกัน เช่น ความคิดดีกับความคิดชั่ว การจองเวรกับการไม่จองเวร ความสามัคคีกับการแตกความสามัคคี ผู้มีจิตมั่งคงกับผู้มีจิตไม่มั่นคง เป็นต้น องค์ความรู้ที่เป็น สหวิทยาการ เป็นการบ่งชี้ปรากฏการณ์ทางสังคม เช่น ภูมิศาสตร์ การปกครอง วัฒนธรรม อาชีพ เป็นต้น และอนุภาคแห่งเรื่องเล่ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์สอดคล้องกับธรรมบท ประกอบด้วย อนุภาคตัวละคร อนุภาควัตถุ และอนุภาคเหตุการณ์หรือพฤติกรรม
References
พระราชปริยัติโมลี (สุทัศน์). (2558). ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 1 แปลโดยพยัญชนะ. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.
พระอธิการกฤษดา สุทฺธิญาโณ (เรืองศิลป์). (2562). ศึกษาอิทธิพลของปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรี จันทร์ทอง และธนสิน ชุตินธรานนท์. (2564). การวิเคราะห์อนุภาคในละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ความสัมพันธ์กับต้นทุนทางวัฒนธรรมไทย. มนุษยศาสตร์สาร. 22(1): 9-10.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เล่มที่ 25. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2560ก). การศึกษาวิเคราะห์ชาดกในเชิงสหวิทยาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 13(3): 2-3.
สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2560ข). อรรถกถาธรรมบทในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 3(1): 37-39.
สุรพัสตร์ ภัทรานนท์อุทัย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเรื่องเล่าของ Let’s & Go และกลุ่มคนไทยที่เล่นรถ Tamiay Mini 4 WD. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2537). พุทธวจนะในธรรมบท. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
เอื้อนทิพย์ พีระเสถียร. (2529). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเรื่องและอนุภาคในปัญญาสชาดก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 จิระศักดิ์ สังเมฆ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์