การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสายอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัชฌพร อังกินันทน์ นักวิชาการอิสระ
  • ประสิทธิ์ อังกินันทน์ นักวิชาการอิสระ
  • อัชฌสิทธิ์ อังกินันทน์ สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ, นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษา สายอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นขององค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี จำนวน 7,424 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน เครื่องมือ ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ
     ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 69.50 จากการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบ จำนวน 81 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 1 ทัศนคติและความสนใจด้านอาชีพ องค์ประกอบที่ 2 ด้านภาพลักษณ์ของสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 3 การประชาสัมพันธ์ องค์ประกอบที่ 4 ด้านครอบครัวและบุคคล ที่เกี่ยวข้อง 1 องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 6 การลงมือปฏิบัติ โดยองค์ประกอบทัศนคติและความสนใจด้านอาชีพมีร้อยละความแปรปรวนที่มากที่สุดเท่ากับ 13.33 แสดงว่าส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสายอาชีพมากที่สุด และระดับความคิดเห็นขององค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี พบว่า ระดับความคิดเห็นของการเข้าศึกษาต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

References

กรมจัดหางาน กองบริหารงานข้อมูลตลาดแรงงาน. (2560). ยุทธศาสตร์การแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนแรงงาน พ.ศ. 2560 - 2564. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/498391d8154f6237d5db6b423d5f1b85.pdf (2564, 20 ธันวาคม)

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. รายงานงาน บริหารงานทั่วไป สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

เตือนใจ อารีโรจนนุกูล. (2561). เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2565). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.

พีรภูมิ แสงหิรัญ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ. วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษามหาวิทยาลัยเซนต์ จอห์น.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.

ภัคสุดา เสรีรัตน์. (2560). ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาของนักเรียนในกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ยุพา ไทยพิทักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออาชีวศึกษาเอกชนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ หนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: ประสานการพิมพ์.

เสาวณี จันทะพงษ์. (2561). การศึกษาสายอาชีพ (1): เส้นทางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.eef.or.th/ (2564, 20 ธันวาคม)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023