การวิเคราะห์และการเรียงลำดับปัญหาการควบคุมภายในของธุรกิจ ที่พักและโรงแรมจังหวัดจันทบุรีด้วยวิธีการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์

ผู้แต่ง

  • อลิษา ประสมผล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • วิชิต เอียงอ่อน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การเรียงลำดับปัญหา, การควบคุมภายใน, ธุรกิจที่พักและโรงแรม, การตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเรียงลำดับสภาพปัญหาการควบคุมภายใน ของธุรกิจที่พักและโรงแรม จังหวัดจันทบุรี และเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพปัญหาควบคุมภายในของธุรกิจที่พักและโรงแรม จังหวัดจันทบุรี จำแนกตามรูปแบบการประกอบการของธุรกิจโดยใช้วิธีการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ ซึ่งผู้ประเมินที่สนใจศึกษานี้ คือ เจ้าของกิจการ หรือผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่บัญชีการเงินของธุรกิจที่พักและโรงแรมจังหวัดจันทบุรีจำนวน 123 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 123 คน ผ่านเกณฑ์การประเมิน 10 ด้าน ในการดำเนินงานวิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิด TOPSIS ในการประเมินปัญหาการควบคุมภายใน
วิธีการประเมินดังกล่าวสามารถเรียงลำดับสภาพปัญหาการควบคุมภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผลการประเมินสามารถระบุได้ว่า ปัญหาการควบคุมภายใน 3 ลำดับแรก คือ ปัญหาด้านการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงคลังมีปัญหา ปัญหาด้านการควบคุมภายในเกี่ยวกับ
เงินสดรับ และปัญหาด้านการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์) ส่วนการเปรียบเทียบสภาพปัญหาควบคุมภายในของธุรกิจที่พักและโรงแรม จังหวัดจันทบุรี พบว่า กิจการเจ้าของคนเดียวมีมีปัญหาการควบคุมภายในมากที่สุด ห้างหุ้นส่วนมีปัญหาการควบคุมภายในระดับปานกลาง และบริษัทมีปัญหาการควบคุมภายในน้อยที่สุด

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2561). การควบคุมภายใน [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.cad.go.th/main.php?filename=intro_logo2566_1. (2565, 25 ธันวาคม ).

กันตภณ สุริยานนท์. (2555). เทคนิคการตัดสินใจและการวิเคราะห์ตัวเลือกหลายเกณฑ์. คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์, 31(3): 157-174.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). ความหมายและความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. .[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://tourismatbuu.wordpress.com (2564, 16 ธันวาคม).

นงลักษณ์ ผุดเผือก และคนอื่น ๆ. (2563). ความสัมพันธ์ของการควบคุมภายในที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจที่พักในโรงแรมจังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14(3), 214-230.

นัฐนาถ ยอดชาสุวรรณ. (2564). ปัญหาของการควบคุมภายในของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต หาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัทมภรณ์ โคสวิดา. (2556). การวางระบบการควบคุมภายในของธุรกิจรีสอร์ทขนาดเล็ก. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/263509. (2565, 25 ธันวาคม).

อรอนงค์ จำปาแก้ว, อุเทน เลานำทา และ กิตติพล วิแสง. (2563). ผลกระทบของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. วารสารการบัญชีและการจัดการ.คณะการบัญชีและการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(2). 87-99.

Johnson, A., & Brown, B. (2015). ข้อเสียในการก่อตั้งธุรกิจร่วมกัน. วารสารการธุรกิจและการจัดการ. 20(3): 78-85.

Lussier, R. N., & Achua, C. F. (2019). Entrepreneurship: Theory, process, practice. Cengage Learning.

Nadaban, S., Dzitac, S., & Dzitac, I. (2016). Fuzzy TOPSIS: A General View. Procedia Computer Science, 91, 823-831.

Smith, J. (2010). Disadvantages of Forming a Partnership Business. Journal of Business and Management, 15(2): 45-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023