ความหมายต่ออาชีพและแผนอาชีพในอนาคตของพริตตี้
คำสำคัญ:
พริตตี้, อนาคตของพริตตี้, การวางแผนอาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้ความหมายต่ออาชีพ ศึกษาเส้นทาง การเข้าสู่อาชีพ และศึกษาการวางแผนอาชีพในอนาคตของผู้ประกอบอาชีพพริตตี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการวิเคราะห์เอกสาร เป็นเครื่องมือในการวิจัย และคัดเลือก ผู้ประกอบอาชีพพริตตี้และผู้ที่เกี่ยวข้องแบบเจาะจง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 18 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระในการวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า พริตตี้มีการให้ความหมายต่ออาชีพที่สะท้อนการทำงานเพื่อบุคคลอื่น ได้แก่ นักสร้างความสำเร็จ นักเปิดมุมมอง นักแลกเปลี่ยน นักสร้างความสนใจ นักจัดการแข่งขัน และนักสร้างความสุข ซึ่งมากกว่าการทำงานเพื่อตนเอง ได้แก่ นักสร้างมูลค่า นักนำเสนอ นักสร้างสรรค์ และนักออกแบบ พริตตี้มีเส้นทางการเข้าสู่อาชีพจากความต้องการของตนเองและจากการแนะนำของบุคคลอื่นในระดับที่เท่ากัน และพริตตี้มีการวางแผนอาชีพในอนาคต 3 แนวทาง คือ การทำธุรกิจส่วนตัว การทำงานประจำ และการทำอาชีพอิสระ
References
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2555). Event marketing. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.
กมลวรรณ ขุมทรัพย์. (2548). การสร้างความหมายของสาวพริตตี้ในอุตสาหกรรมรถยนต์โดยสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะวัฒน์ เจริญศักดิ์. (2564). ความสุขและความผูกพันในการทำงานของพริตตี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิรดา ศักดิ์ศิริรักษ์ และบัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. (2562). การศึกษาวงจรชีวิตของพริตตี้. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 5(1): 50-61.
กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ. (2565). รายงานภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.boi.go.th/upload/content/FDI%20Report%202021_627b76806a76c.pdf (December 17, 2023).
ผสานชัย จุฑาภักดิ์. (2556). แรงจูงใจเข้าสู่การทำงานและการปรับตัวของพริตตี้บริการลูกค้าในร้านอาหาร A. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Holland, J. L. (1997). Making vocational choices: A theory of vocational personalities and work environments. Odessa: Psychological Assessment Resources.
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology. 3(2): 77-101.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ปิยะวัฒน์ เจริญศักดิ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์