การประเมินความเสี่ยงอันตรายจากการทำงานของคนงานก่อสร้างในโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ขวัญแข หนุนภักดี หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, อันตรายจากการทำงาน, คนงานก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงอันตรายจากการทำงานของคนงานก่อสร้างในโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในคนงานก่อสร้างจำนวน 78 คนโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประเมินความเสี่ยงอันตรายจากการทำงานโดยใช้เมทริกความเสี่ยงทางสุขภาพที่พิจารณาระดับโอกาสและความรุนแรง แบ่งลักษณะงาน 3 งาน ได้แก่ 1) งานโครงสร้าง 2) งานสถาปัตยกรรม 3) งานระบบ และอันตราย ที่พบในงานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) อุบัติเหตุจากวัตถุหรือสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทง แผลจากความร้อน 2) อุบัติเหตุจากการโดนวัตถุกระแทก ตกใส่ ชน 3) การบาดเจ็บที่ตา/สมรรถภาพ การได้ยิน 4) การระคายเคืองผิวหนัง/ทางเดินหายใจ 5) อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบ เพศชายร้อยละ 85 อายุเฉลี่ย 52 ปี ประสบการณ์ในการทำงานก่อสร้าง 20 ปี และร้อยละ 95 เคยได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุในการทำงาน ผลการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการประสบอันตรายใน 3 ลักษณะงานมีดังนี้
1. งานโครงสร้าง พบความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้จากงานปรับพื้นที่ ขนวัสดุและเครื่องจักร ขุดเจาะขนถ่ายดิน ตอกเสาเข็มและผูกเหล็กเนื่องจากอุบัติเหตุจากวัตถุหรือสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทง แผลจากความร้อน สำหรับงานปรับพื้นที่ ขุดเจาะขนถ่ายดิน ตอกเสาเข็มพบอุบัติเหตุจากการโดนวัตถุกระแทก ตกใส่ ชนในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ นอกจากนี้อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อพบจากงานขนวัสดุและเครื่องจักร ขุดเจาะขนถ่ายดิน ผูกเหล็กและเทคอนกรีตในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้
2. งานสถาปัตยกรรม พบความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้จากอุบัติเหตุจากวัตถุหรือสิ่งของตัด บาด ทิ่มแทง แผลจากความร้อน อุบัติเหตุจากการโดนวัตถุกระแทก ตกใส่ ชนและอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในการทำงานฝ้าเพดาน ส่วนงานทาสี ก่อฉาบ โบกปูน ตกแต่งภายในมีความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้จากอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ
3. งานระบบ พบว่า ผลการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการประสบอันตรายในขั้นตอน การทำงานระบบไม่พบระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

References

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564. (2564, 2 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138. ตอนที่ 15 ก. หน้า 34-50.

จิตรลดา โพธิ์วิจิตรและจิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์. (2563). ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง: กฎหมายแนวทางป้องกันอุบัติเหตุและแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 12(2): 168-193.

พรพิมล กองทิพย์. (2556). การประเมินการสัมผัสและความเสี่ยงต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เบส กราฟฟิคเพรส.

วิภารัตน์ โพธิ์ขีและสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2559). การจัดการความปลอดภัยในงานก่อสร้าง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(3-4): 1-7.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, วิภารัตน์ โพธิ์ขี และสุดปรารถนา จารุกขมูล. (2560). การประเมินความเสี่ยงในคนงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาบริษัททก่อสร้างที่พักอาศัย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 32(1): 30-37.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2566). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2561 - 2565. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.ohswa.or.th/attachments/view/?attach_id=359766. (2566, 2 กันยายน).

ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543. (2543, 17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 118. ตอนพิเศษ 58ง. หน้า 28-55.

Ismail Z, Doostdar S, & Harun Z. (2012). Factors influencing the implementation of a safety management system for construction sites. Saf Sci. 50(3): 418-23.

Kanchana, S., Sivaprakash, P., & Joseph, S. (2015). Studies on Labour Safety in Construction Sites. The Scientific World Journal. 590810, 1-6.

Reddy, G. M. M., Nisha, B., Prabhushankar, T. G., Vishwambhar, V. (2016). Musculoskeletal morbidity among construction workers: A cross-sectional community-based study. Indian journal of occupational and environmental medicine. 20(3): 144-149.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Williams, O. S., Hamid, R. A., & Misnan, M. S. (2018). Accident causal factors on the building construction sites: A review. International Journal of Built Environment and Sustainability. 5(1): 78-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024