การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณและความสามารถในการวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์

ผู้แต่ง

  • เกศวจี พูลภิญโญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • นพรัตน์ หมีพลัด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิราภรณ์ เหมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน, วิทยาการคำนวณ, อินโฟกราฟิกส์

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับอินโฟกราฟิกส์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัด การเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์กับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.61 แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for Dependent Sample
     ผลการวิจัยพบว่า
     1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     2. ความสามารถในการวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิกส์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
     4. ความสามารถในการวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับ อินโฟกราฟิกส์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80

References

กฤษณะ โต๊ะดำ. (2565). กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO-5STEPs) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสภาราชินีจังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2564. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 (1947-1962) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จงรัก เทศนา. (2562). อินโฟกราฟิกส์ (Infographics). [Online].Available:https//Chachoengsao cdd.go.th [2564, มกราคม 2].

ชยามร กลัดทรัพย์. (2565). ผลการใช้โมชันอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนารีวิทยา ราชบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 2(23): 65-74.

นิรันดร์ ชัยวิเศษ และสมทรง สิทธิ. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์โดยใช้บทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 8(2): 39-52.

ปานวาด อวยพร. (2560). ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2): 572-582.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2557). Infographics ช่วยการเรียนรู้. [Online].Available: https://sites.google.com/site/krualeeymat/ [2564, มกราคม 16].

วินัย สว่างเรือง. (2561). ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้ใบงานและผังกราฟิกด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ของดีเมืองจันท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [Online], Available: http://tbkhlung.ac.th/. (2564, 15 กุมภาพันธ์).

สุภาพร นะมามะกะ. (2562). ศึกษาการพัฒนาสื่อการสอนอินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่ง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ECT Journal. 16. 1-10.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สร้อยสุดา ศรีงาม. (2561). ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับเพื่อนช่วยเพื่อน ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพัทยา 11. [Online]. Available: http://www.mpty.ac.th/pdf/p2.pdf. (2563, พฤศจิกายน 10).

Cornnell University. (2021). Collaborative Learning. [Online]. Available: https:/teaching.cornell.edu/teachingresources/engagingStudents/ collaborative-learning. (2564, กุมภาพันธ์ 27).

Alyahya, D. (2019). Infographics as a Learning Tool in Higher Education: The Design Process and Perception of an Instructional Designer. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research. 18(1): 1-15.

Apriyanti et al., (2020). Needs Analysis Of Infographic Media Using Technology for Learning Physics. Malaysian Online Journal of Educational Technology. 8(1): 48-62.

ThaibussinessSearch. (2018). Infographic (อินโฟกราฟิกส์) คืออะไร? มีหลักการออกแบบ อย่างไร?. [Online]. Available https://www.thaibusinesssearch.com/ marketing/infographic/ (2564, 2 มกราคม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023