แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของชุมชน ในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
การอนุรักษ์, ภูมิปัญญา, การใช้สมุนไพรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของชุมชนในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว และ 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์
ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของชุมชนในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ได้แก่ หมอพื้นบ้าน ปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความรู้และ
ภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพร ผู้ปลูกสมุนไพร และผู้นำชุมชน ที่ส่งเสริมการใช้สมุนไพร จำนวนกลุ่มละ 5 คน รวม 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของชุมชน พบปัญหา 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการปลูกพืชสมุนไพร 2) ปัญหาด้านการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร 3) ปัญหาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ 4) ปัญหาด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพร สำหรับแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของชุมชนตำบลบ้านแก้ง พบว่า ทุกภาคส่วน ควรร่วมมีอกันส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรทั้งในที่สาธารณะของตำบลและที่ดินส่วนตัวของสมาชิกชุมชน อาจทำในรูปแบบ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ป่าครอบครัว ธนาคารต้นไม้ ธนาคารสมุนไพร ปลูกหัวไร่ปลายนา และสวนรอบบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ผู้นำควรรวมกลุ่มและร่วมมือกันในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร หน่วยงานภาครัฐ ควรสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีมาตรฐาน ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา จากหมอพื้นบ้าน ปราชญ์ท้องถิ่นสู่คนรุ่นปัจจุบันโดยจัดทำตำรา และจัดทำฐานข้อมูลหมอพื้นบ้านและฐานข้อมูลสมุนไพร
References
จันทร์จิรา ตรีเพชร, ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา และวราวุฒิ มหามิตร. (2564). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่นตามนิเวศธรรมชาติลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(1): 213-224.
เชษฐ์ณรัช อรชุน ธนกร ภิบาลรักษ์ และชูวงศ์ อุบาลี. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดตะเคียนทอง (เพชโรปถัมภ์) อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธันยพงศ์ สารรัตน์, ปิยวรรษ กันทอง, นิษฐา บุศบงค์, ปัณณทัต ลำเฟือย และอัษฎา พิศนอก. (2565). การส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยด้านสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2565 หน้า 2058-2075.
นงลักษณ์ จิ๋วจู ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์ ชญานันท์ ศิริกิจเสถียร และวีรวรรณ แจ้งโม้. (2564). การพัฒนาการแปรรูปพืชสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา: บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/D8mJ0
นำพล แปงเมือง, ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์ และเพชรรัตน์ รัตนชมภู. (2566). แนวทางการส่งเสริม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้าน กรณีศึกษาตำบลโป่งเปือย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 12(1): 37-50.
ปราณี ช่างคิด. (2566). หมอพื้นบ้านในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วันที่ 5 มีนาคม 2566. (สัมภาษณ์)
ปัญจศักดิ์ สีดาวงษ์ และสุทธิกร มาตขาว. (2566). ผู้นำชุมชนในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วันที่ 15 มีนาคม 2566. (สัมภาษณ์)
ผมหอม เชิดโกทา. (2563). สภาพปัญหาการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(3): 106-114.
พัฒนา พรหมเผ่า. (2566). ผู้นำชุมชนในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วันที่ 15 มีนาคม 2566 (สัมภาษณ์)
มัณฑน์กาญจน์ ไชยหงษ์. (2566). ผู้นำชุมชนในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วันที่ 8 พฤษภาคม 2566. (สัมภาษณ์)
รายงานข้อมูลพื้นฐาน อบต.บ้านแก้ง. (2566). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.tumbonbankeng.com/?page_id=101
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. (2566). หมอชีวกโกมารภัจจ์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://ttcmh.dtam.moph.go.th/index.php/knowledge/read-more/34-proj-1.html
สภาการแพทย์แผนไทย. (2566). สถาบันผ่านการรับรอง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://thaimed.or.th
สุดใจ กลิ่นขจร. (2566). หมอพื้นบ้านในตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วันที่ 5 มีนาคม 2566. (สัมภาษณ์)
สุนทรี จีนธรรม, จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท และสุภารัตน์ คำเพราะ. (2564). การศึกษาตำรับยาสมุนไพรของหมอพื้นบ้านในตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(4): 229-246.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สุนทรี จีนธรรม, จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท, รัชนีวรรณ จีนธรรม, ประภัสรา ธรรมวัชรางกูร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์