ภาพตัวแทนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและสภาวการณ์เรื่องเล่าที่ปรากฏในรวมเรื่องสั้นของโครงการ “อ่านยาใจ”

ผู้แต่ง

  • สิริวิทย์ สุขกันต์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ภาพตัวแทน, สภาวการณ์เรื่องเล่า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้ป่วยซึมเศร้าและสภาวการณ์เรื่องเล่า โดยศึกษาจากรวมเรื่องสั้นของโครงการ “อ่านยาใจ” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 ด้วยแนวคิดเรื่องภาพตัวแทน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพตัวแทนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ สาเหตุและที่มาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และอาการทางร่างกายของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยภาพตัวแทนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ปรากฏมากที่สุด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะต้องพบกับการสูญเสีย 2) สภาวการณ์เรื่องเล่า สามารถแบ่งได้ 5 ลักษณะ โดยเรียงลำดับที่ปรากฏจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ผู้เล่าเรื่องชั้นในแบบสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายใน ผู้เล่าเรื่องชั้นนอกแบบอสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายใน ผู้เล่าเรื่องชั้นนอกแบบอสัมพันธ์ไร้มุมมอง ผู้เล่าเรื่องชั้นนอกแบบอสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายนอก และผู้เล่าเรื่องชั้นในแบบอสัมพันธ์รับรู้ผ่านมุมมองภายใน ตามลำดับ

References

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2523). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). กรุงเทพฯ: บางกอกการพิมพ์.

นันทยา คงประพันธ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(11): 302-315.

นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์. (2547). เรื่องสั้นบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). โรคซึมเศร้า. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง และพับบลิชชิ่ง.

สสส.ชวนภาคีเครือข่ายการอ่าน เปิดตัวโครงการอ่านยาใจ ปีที่ 2. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: happyreading.in.th/news/detail.php?id=948 (2564, 23 สิงหาคม).

สกุล บุณยทัต. (บรรณาธิการ). (2565). ภูมิคุ้มใจในวันทุกข์: รวมบทกวีและเรื่องสั้น อ่านยาใจ ปีที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับ สถาบันราชานุกูล.

สกุล บุณยทัต. (บรรณาธิการ). (2564). วันทุกข์ที่ผ่านพ้น: รวมเรื่องสั้น อ่านยาใจ อ่านเพื่อหัวใจ อิ่มสุข. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสริมสร้างวัฒนธรรมการอ่าน.

สุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. (2560). ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 62(4): 359-378.

เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: มติชน.

Hall, S. (1997). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London: SAGE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2024