ผลการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพที่มีต่อความสามารถ ในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • วุฑฒินันท์ ศรีแสน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • นิติกร อ่อนโยน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ฐาปนา จ้อยเจริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ, ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียน เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหลักแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เชิงผลิตภาพ เรื่อง ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ จำนวน 12 แผน 24 ชั่วโมง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (M = 4.47, S.D. = 1.29) 2) แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งประกอบด้วย 2 ตอน ได้แก่ 2.1 แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ด้านการเขียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และ 2.2 แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ด้านการพูด มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) สถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

ภูษณิศา สุวรรณศิลป์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นฐานร่วมกับ กลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อส่งเสริมทักษะ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วชิรวิทย์ ช้างแก้ว และจินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://pisathailand.ipst.ac.th/ (2563, 10 มกราคม).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สมพร โกมารทัต. (2557). การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (2565). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา. อ่างทอง: กลุ่มนิเทศ ติดตามผลการประเมินการศึกษา.

Ganefria & Hidayat, H. (2014). Production Based Learning: An Instructional Design Model in the Context of Vocational Education and Training (VET). Postgraduate Engineering Faculty Padang State University, Padang, Sumatera Barat 25131, Indonesia.

Nonye, M. A., David, J. G. & Mary, O. D. (2012). Promoting 21st- Century Skills in the Science Classroom by Adapting Cookbook Lab Activities: The Case of DNA Extraction of Wheat Germ. The American Biology Teacher. 74(7): 485–489.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024